จักรยาน
จักรยาน
วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ขี่ลุยฝน อย่างไรให้ไม่หมดสนุก
หน้าฝนไม่ถึงก็จวน พายุฤดูร้อนโหมกระหน่ำมาเตือนเป็นระลอกๆว่ใกล้เข่าสู่ช่วง"นอกฤดูกาล" หรือ off season สำหรับนักปั่นหลายๆคน แต่ฝนไม่ใช่อุปสรรคที่จะทำให้ความสนุกของจักรยานหมดไป หรือเป็นอุปสรรคต่อการออกปั่นทิ้งให้จักรยานคันเก่งฝุ่นจับอยู่กับบ้าน ลองมาเอาทริคและข้อควรระวังต่างๆไม่กี่ข้อนี้ไปใช้ หน้าฝนก็ยังคงปั่นได้อย่างแน่นอน ขี่ลุยฝน อย่างไรให้ไม่หมดสนุก
1.หาข้อดีของฝน
มันเปียก เฉอะแฉะ ถนนเจิ่งนอง มองไม่เห็นทาง รถสาดน้ำใส่ ถ้ามองว่าน้องฝนเรามีแต่ปัญหาก็จะไม่อยากออกไปปั่นจักรยาน ลองคิดถึงข้อดีที่น้องฝนโปรยลงมาบ้างเหมือนกับวลี"คิดบวก"อย่างเช่น อากาศเย็นกว่าปกติไม่โดนแดดเผา อัตราการเสียน้ำลดลง อัตราชีพจรลดลงในการออกแรงเท่าเดิม เท่ากับว่าร่างกายได้ซ้อมถึงพริกถึงขิงได้ง่ายๆ ยังไม่นับว่าฝนทำให้ถนนบางเส้นโล่งสบายไม่มีคนกวนใจปั่นได้เต็มที่ ผมเชื่อว่าต้องมีคนเคยคิดแน่ๆล่ะว่า "เปียกก็ดีกว่าร้อน"
2.เตรียมรถให้ปลอดภัยในหน้าฝน
ฝนและถนนเปียกๆส่งผลต่อการขับขี่อย่างแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย สิ่งต่างๆที่ควรเตรยมเซ็ทหรือเช็คให้พร้อมใช้งานในหน้าฝนก็ไม่ต่างอะไรกับรถยนต์นัก อาทิเช่นระบบเบรคที่ควรทำงานได้ดี โดยเฉพาะกลุ่มล้อคาร์บอน ลองตรวจสอบผ้าเบรคดูว่าผ่านมากี่พันกิโลเมตร ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้วหรือยังนะ ลองตรวจสอบจุดหมุนและแบริ่งต่างๆดูว่ายังเหลือจารบีอยู๋หรือไม่ เพราะจารบีต่างๆช่วยป้องกันหรือลดน้ำที่จะเข้าไปข้างในระบบได้ จุดหมุนแห้งสนิทอาจดูลื่น แต่เมื่อเจอกับฝนเข้าไปแห้งเมื่อไหร่ทิ้งไว้สิ่งที่ตามมาคือสนิมที่จะพาเอาความเสียหายมาด้วยนั่นเอง อย่าลืมตรวจเช็คยางนอกและทุกครั้งที่ขี่จัรกยานบนถนนเปียกลองกดเอาลมออกจากยางเสียหน่อยเพื่อให้ยางมีผิวสัมผัสกับพื้นมากขึ้น แม้แต่หาบังโคลนมาติดซะก็ไม่ได้ทำให้รถหมดความซิ่งลงไป เพราะสมัยนี้โปรเองก็ซ้อมกันแบบมีบังโคลนติดแล้วในฤดูที่ฝนตกทุกวัน ที่สำคัญอย่าลืมไฟหน้าไฟท้าย ถึงจะไม่ได้ช่วยให้มองเห็นทางแต่ช่วยให้คนอื่นมองเห็นเราได้งา่ยในกรณีฝนตกหนักจนทัศนวิสัยลดลง
3.ขี่ให้ปลอดภัยกว่าปกติ
ถนนเปียก ถนนลื่น เบรคลื่น ดังนั้นการห้ามล้อหรือควบคุมรถก็ทำได้ยากขึ้น ข้อระวังแรกของการขี่จักรยานคือเลือกใช้ความเร็วที่เมหาะสม อย่าเร็วเกินไปในที่ๆเสี่ยง อย่าลุยลงไปในน้ำลึกเพราะคงไม่อยากเสี่ยงเจอหลุมหรือฝาท่อที่จมอยู่ เข้าโค้งด้วยความเร็วที่มั่นใจเท่านั้นอย่าดื้อกับความมันส์ หากขี่กันเป็นกลุ่ม พยายามทำตัวเองให้นิ่งที่สุดและมีพฤติกรรมที่คาดเดาได้เพื่อให้เพื่อนที่ขี่ด้วยไม่ต้องมาลุ้นว่าจะต้องเบรคจึ๊กหรือหลบท้ายสะบัดหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เผื่อระยะปลอดภัยมากกว่าปกติเสมอ และคิดเสมอว่าโอกาสเกิดเหตุไม่คาดฝันมากกว่าเดิม ดังนั้นพยายามสื่อสารกันมากกว่าปกติ
4.แต่งตัวให้เหมาะสม
เสื้อกันฝนหรือแจ็คเก็ทกันลมสำหรับจักรยานเลือกที่เนื้อผ้าบางเบาและไม่ยาวจนคลุมลงมาที่ล้อจนโดนล้อเกี่ยวพันเข้าไปได้ ใช้เสื้อผ้าที่มีสีสดใส อย่ามัวแต่กลัวจะไม่แฟชั่นใส่ชุดปั่นสีดำทันสมัยนิยมแต่โดนรถสอยไปกินเพราะเค้ามองไม่เห็นเรา ถ้ารู้ว่าจะไปขึ้นเขาสูงที่อากาศหน้าวอย่าลืมเผื่อเสื้อกันลมไปด้วย ที่สำคัญของเล็กๆน้อยๆบางอย่างช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นมากเช่นแว่นตาแบบใสหรือเลนส์สีอ่อนช่วยกันเม็ดฝนเข้าตา หมวกแก็ปจักรยาน(ที่ใส่กันเอาแฟชั่น)ช่วยลดเม็ดฝนที่เข้าตาและหน้าได้เวลาขี่เร็วๆ แม้แต่การพกผ้าซับน้ำดีๆไปซักผืนก็สะดวกสบายขึ้นเวลาต้องคอยเช็ดแว่นที่เต็มไปด้วยหยดน้ำ อย่าลืมนะครับว่าเราไม่มีที่ปัดน้ำฝน
5.เช็ครถและดูแลบ่อยๆ
น้ำกับกลไกมันไม่ได้เป็นของคู่กัน หมั่นล้างรถและทำความสะอาดบำรุงรักษาจุดหมุนต่างๆบ่อยกว่าปกติ ยิ่งขี่ตักรยานตากฝนบ่อยเท่าไหร่ก็ยิ่งต้อหมั่นดูแลจักรยานมากเท่านั้น อย่างน้อยๆควรล้างจักรยานทุกครั้งหลังปั่น อย่าคิดว่าน้องฝนล้างให้แล้ว เพราะเศษดิน เศษฝุ่นที่เกาะตามเฟรมและจุดหมุนต่างๆมันคอยขีดข่วยให้เฟรมงามๆต้องมีรอย หรือแม้แต่เข้าไปฝังตัวอยู่กับจุดหมุนและทำความเสียหายได้ในระยะยาว หากจะใส่จารบีลองเลือกจารบีที่มีความหนืดกว่าปกติ แน่นอนครับว่าล้อและจุดหมุนคงไม่ลื่นปรื๊ด แต่สำหรับเราๆที่ไม่ได้มีของใช้ฟรีมันช่วยยืดอายุได้มากในหน้าฝน หลังผ่านหน้าฝนไปควรตรวจสอบจุดหมุนทั้งหมดและทำการดูแลยกเครื่องทุกชิ้น
ประเทศไทยเราถือว่าอยู่ในเขตุร้อนชื้น ฝนตกชุก โดยเฉพาะพี่น้องภาคใต้ที่ฝนตกมากกว่าครึ่งปี ...อย่าทำให้ฝนเป็นอุปสรรคต่อการออกมาปั่นจักรยานให้สุขภาพดีและมีร่างกายแข็งแรง ลองหาของเล่นเป้นชุดจักรยานแบบหน้าฝน จะเป็นแจ็คเก็ทซักตัว หรือเสื้อกันลมหล่อๆเข้ารูปพอดีตัวแบบโปร ใส่ถุงมือ หมวกแก็ป ให้แลเผินๆคล้ายโปรจักรยานฝรั่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิก็ไม่เลวนะครับ อย่างน้อยก็ทำให้เราอยากออกมาปั่นจักรยานบ่อยกว่าเดิม
หาเพื่อนซ้อมจักรยานมีดี 5 ข้อ
การมีเพื่อนร่วมปั่นจักรยานย่อมดีและช่วยให้การปั่นจจักรยานสนุกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการท้าทายหรือคลายเหงา หากเจอเพื่อนถูกใจมีนิสัยการปั่นถูกคอกัน การเดินทางไปร่วมกันย่อมดีกว่าการปลีกวิเวกรักสันโดษเดินเดี่ยวคนเดียวแน่นอน แต่หากมาพูดถึงการฝึกซ้อมมุ่งมั่นพัฒนาการปั่นให้ดียิ่งขึ้น ทั้งเป้าหมายการแข่งขันเชิงกีฬา การร่วมทริปท้าทายวัดใจ หรือแม้แต่การเอาชนะใจตนเองก้าวสู่เส้นทางที่ยาวไกลขึ้น มุ่งเน้นเผาผลาญส่วนเกินให้ได้มากที่สุด การฝึกซ้อมจักรยานจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อคุณมี "เพื่อนร่วมทาง" ไปด้วยกัน วันนี้ลองมาดูข้อดี 5 ประการของการหาเพื่อนร่วมทางที่เก่งกว่า แข็งแรงกว่า และมีประสพการณ์มากกว่ากัน
1.เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชน
เครื่องดื่มบำรุงกำลังยี่ห้อหนึ่งกล่าวเอาไว้ ฟังดูสุดโต่งแต่เป็นเช่นั้นจริงๆ ภาพที่เห็นแผ่นหลังของเพื่อนร่วมทางค่อยๆห่างออกไป จนลับตาก่อนจะเหลือเพียงภาพถนนเวิ้งว้างเบือ้งหน้ากับพื้นถนนที่ผ่านไปมันเป็นรอยแผลลึกที่ปักอยู่ในใจของคนที่คนที่เชื่อว่าต้องเคยผ่านกันมาแล้วทั้งสิ้นไม่ว่ามือใหม่มือเก่า ยันทีมชาติหรือโปรมืออาชีพ รอยแผลนี้จะคอยเป็นแรงบันดาลใจให้การขี่จักรยานของคุณต้องมุ่งไปหาเป้าหมายเบือ้งหน้าให้จงได้ ครั้งแล้วครั้งเล่าที่พยายามยื้อเวลาห้อยตามเพื่อนๆให้ได้นานที่สุด จากระยะทางไม่กี่กิโลเป็นหลายสิบกิโลเมตร ลองถามตัวเองดูดีๆครับว่าตอนนี้คุณกำลังขี่ไล่หลังของเพื่อนคนไหนอยู่
2.ดูดซึม ซึมซับ
"ครูพักลักจำ" เป็นคำเปรียบเปรยที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน ในอดีตอำแดงเหมือนนั่งแอบฟังพระสอนหนังสือจนรู้หนังสือได้ ผู้ช่วยพ่อครัวเป็นลูกมือหั่นผักหั่นหมูไม่นานก็เรียนรู็การปรุงอาหารรสเลิศ จะมีอะไรดีไปกว่าการได้ขี่จักรยานกับคนเก่งๆ เพื่อนร่วมทางที่มีประสพการณ์แล้วคอยเฝ้าสังเกตุเรียนรู้ทุกอย่างที่เค้าทำ จากนั้นนำมาใช้ให้เหมาะกับตัวเราเอง เรื่องบางอย่างอธิบายแล้วเข้าใจยากกว่าได้สังเกตุดูแล้วทำตามเช่นจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ วิธียกน้ำขึ้นดื่ม ท่าขี่ที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้อ่านตำรามาร้อยแปดเล่มแต่ไม่ได้เห้นตัวอย่างก็ยากที่จะเข้าใจได้
3.เพื่อนผิด เป็นครู
การเรียนรู้ที่ดีย่อมศึกษาจากความผิดพลาด รวมกับสี่เท้ายังรู้พลาดปราชญ์เองยังพลั้งได้ เมื่อนำสองคำพังเพยนี้มารวมกัน เราก็จะได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่ดีที่เพื่อนผู็มากประสพการณ์ของเราทำให้ดูว่าอะไรกันนะที่มันไม่เวิร์ค นักปั่นจักรยานไม่ว่าจะเก่าแก่แค่ไหนก็ย่อมมีข้อผิดพลาดได้ทั้งสิ้น อยู๋ที่เพื่อนกับตัวเราจะห่างชั้นกันขนาดไหน เพื่อนที่มีประสพการณ์มากกว่าเราพอดีพเหมาะจะคอยเป็นทั้งกระจกสะท้อนสิ่งที่ดีและแว่นวิเศษแสดงสิ่งที่ไม่ควรทำให้ได้เรียนรู้ก่อนจะถึงคิขของตัวเอง
4.รู้จักของรู้จักแหล่ง
จักรยานเป็นของเล่นที่สนุกกับอุปกรณ์กันอย่างไม่ต้องปฏิเสธ อาการคันหน้าคันหังมาได้เสมอๆ คันแล้วจะไปหาที่ไหน คันแล้วอยากได้อะไร มันเป็นปัญหาคาใจของนักปั่นแทบจะถ้วนทุกคน เพื่อนที่มีประสพการณ์ เพื่อนที่แข็งแรงเก่งกว่าเป็นผู้ชี้ทางที่ชัดเจนที่สุด ใกล้ตัวที่สุด ลองสังเกตุกลุ่มนักปั่นที่มีแกนนำอย่างชัดเจนดูดีๆจะพบว่ากลุ่มจะมี"นิสัย" และ "รูปแบบ" ในการเลือกเล่นกับอุปกรณ์ต่างๆใกล้เคียงกัน และหากท่านได้มีเวลานั่งดื่มด่ำบรรยากาศในร้านจักรยานจะพบว่ากว่าครึ่งของลูกค้าใหม่เดินเข้ามาโดยควงแขนมากับเชียร์แขกส่วนตัว.... เพื่อนนั่นเอง
5.เกิดปัญหา มีทางออก
ตั้งแต่ปัญหาถอดล้อไม่ออก ยางรั่ว ยางแบน สูบยางไม่ได้ เกียร์เสียงดัง เบรคติด เจ็บเป้า เสื้อรัด แว่นบีบหัว หมวกบังตา สายรัดคางแน่นเกินไป รองเท้ากัดนิ้วก้อย ไปจนปัญหาระดับสูงเช่นขี่มา 6 สัปดาห์ความฟิตไม่เพิ่ม ตารางซ้อมไม่ต่อเนื่อง การสปรินท์มีปัญหา จะคัดตัวภาคจะต้องเตรียมอะไรดี ... เพื่อนร่วมทาง เพื่อนร่วมก๊วนของคุณที่เก่งกว่าและมีประสพการณ์มากกว่าคือคนที่พร้อมจะช่วยไขปัญหาให้คุณได้ดียิ่งกว่าอากู๋ google หรือเรียกหา"สิริ" มาตอบปัญหาเหล่านี้ ลองถามตัวคุณดูครับว่าครั้งสุดท้ายที่มีปัญหากับตักรยานแล้วหาทางแก้ไม่ได้ มันน่าอัดอั้นขนาดไหน
ลองมองหาเพื่อนร่วมปั่นที่เพียบพร้อบไปด้วยคุณสมบัติและประสพการณ์นะครับ แต่ก่อนอื่นอย่าลืมศึกษาเนื้อหาการปั่นส่วนตัวต่างๆให้ดีเสียก่อน ก่อนจะไปร่วมทางกับใครเค้า เดี๋ยวใจเราอยากจะมีเพื่อนร่วมทางแต่พอไปแล้วเพื่อนๆพากันส่ายหน้าไม่อยากรับมาอยู่ใกล้ๆ กลัวจะเป็นบ่อเกิดดราม่าทุ่มทุนอลังการงานเสียหายหลายแสน
1.เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชน
เครื่องดื่มบำรุงกำลังยี่ห้อหนึ่งกล่าวเอาไว้ ฟังดูสุดโต่งแต่เป็นเช่นั้นจริงๆ ภาพที่เห็นแผ่นหลังของเพื่อนร่วมทางค่อยๆห่างออกไป จนลับตาก่อนจะเหลือเพียงภาพถนนเวิ้งว้างเบือ้งหน้ากับพื้นถนนที่ผ่านไปมันเป็นรอยแผลลึกที่ปักอยู่ในใจของคนที่คนที่เชื่อว่าต้องเคยผ่านกันมาแล้วทั้งสิ้นไม่ว่ามือใหม่มือเก่า ยันทีมชาติหรือโปรมืออาชีพ รอยแผลนี้จะคอยเป็นแรงบันดาลใจให้การขี่จักรยานของคุณต้องมุ่งไปหาเป้าหมายเบือ้งหน้าให้จงได้ ครั้งแล้วครั้งเล่าที่พยายามยื้อเวลาห้อยตามเพื่อนๆให้ได้นานที่สุด จากระยะทางไม่กี่กิโลเป็นหลายสิบกิโลเมตร ลองถามตัวเองดูดีๆครับว่าตอนนี้คุณกำลังขี่ไล่หลังของเพื่อนคนไหนอยู่
2.ดูดซึม ซึมซับ
"ครูพักลักจำ" เป็นคำเปรียบเปรยที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน ในอดีตอำแดงเหมือนนั่งแอบฟังพระสอนหนังสือจนรู้หนังสือได้ ผู้ช่วยพ่อครัวเป็นลูกมือหั่นผักหั่นหมูไม่นานก็เรียนรู็การปรุงอาหารรสเลิศ จะมีอะไรดีไปกว่าการได้ขี่จักรยานกับคนเก่งๆ เพื่อนร่วมทางที่มีประสพการณ์แล้วคอยเฝ้าสังเกตุเรียนรู้ทุกอย่างที่เค้าทำ จากนั้นนำมาใช้ให้เหมาะกับตัวเราเอง เรื่องบางอย่างอธิบายแล้วเข้าใจยากกว่าได้สังเกตุดูแล้วทำตามเช่นจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ วิธียกน้ำขึ้นดื่ม ท่าขี่ที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้อ่านตำรามาร้อยแปดเล่มแต่ไม่ได้เห้นตัวอย่างก็ยากที่จะเข้าใจได้
3.เพื่อนผิด เป็นครู
การเรียนรู้ที่ดีย่อมศึกษาจากความผิดพลาด รวมกับสี่เท้ายังรู้พลาดปราชญ์เองยังพลั้งได้ เมื่อนำสองคำพังเพยนี้มารวมกัน เราก็จะได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่ดีที่เพื่อนผู็มากประสพการณ์ของเราทำให้ดูว่าอะไรกันนะที่มันไม่เวิร์ค นักปั่นจักรยานไม่ว่าจะเก่าแก่แค่ไหนก็ย่อมมีข้อผิดพลาดได้ทั้งสิ้น อยู๋ที่เพื่อนกับตัวเราจะห่างชั้นกันขนาดไหน เพื่อนที่มีประสพการณ์มากกว่าเราพอดีพเหมาะจะคอยเป็นทั้งกระจกสะท้อนสิ่งที่ดีและแว่นวิเศษแสดงสิ่งที่ไม่ควรทำให้ได้เรียนรู้ก่อนจะถึงคิขของตัวเอง
4.รู้จักของรู้จักแหล่ง
จักรยานเป็นของเล่นที่สนุกกับอุปกรณ์กันอย่างไม่ต้องปฏิเสธ อาการคันหน้าคันหังมาได้เสมอๆ คันแล้วจะไปหาที่ไหน คันแล้วอยากได้อะไร มันเป็นปัญหาคาใจของนักปั่นแทบจะถ้วนทุกคน เพื่อนที่มีประสพการณ์ เพื่อนที่แข็งแรงเก่งกว่าเป็นผู้ชี้ทางที่ชัดเจนที่สุด ใกล้ตัวที่สุด ลองสังเกตุกลุ่มนักปั่นที่มีแกนนำอย่างชัดเจนดูดีๆจะพบว่ากลุ่มจะมี"นิสัย" และ "รูปแบบ" ในการเลือกเล่นกับอุปกรณ์ต่างๆใกล้เคียงกัน และหากท่านได้มีเวลานั่งดื่มด่ำบรรยากาศในร้านจักรยานจะพบว่ากว่าครึ่งของลูกค้าใหม่เดินเข้ามาโดยควงแขนมากับเชียร์แขกส่วนตัว.... เพื่อนนั่นเอง
5.เกิดปัญหา มีทางออก
ตั้งแต่ปัญหาถอดล้อไม่ออก ยางรั่ว ยางแบน สูบยางไม่ได้ เกียร์เสียงดัง เบรคติด เจ็บเป้า เสื้อรัด แว่นบีบหัว หมวกบังตา สายรัดคางแน่นเกินไป รองเท้ากัดนิ้วก้อย ไปจนปัญหาระดับสูงเช่นขี่มา 6 สัปดาห์ความฟิตไม่เพิ่ม ตารางซ้อมไม่ต่อเนื่อง การสปรินท์มีปัญหา จะคัดตัวภาคจะต้องเตรียมอะไรดี ... เพื่อนร่วมทาง เพื่อนร่วมก๊วนของคุณที่เก่งกว่าและมีประสพการณ์มากกว่าคือคนที่พร้อมจะช่วยไขปัญหาให้คุณได้ดียิ่งกว่าอากู๋ google หรือเรียกหา"สิริ" มาตอบปัญหาเหล่านี้ ลองถามตัวคุณดูครับว่าครั้งสุดท้ายที่มีปัญหากับตักรยานแล้วหาทางแก้ไม่ได้ มันน่าอัดอั้นขนาดไหน
ลองมองหาเพื่อนร่วมปั่นที่เพียบพร้อบไปด้วยคุณสมบัติและประสพการณ์นะครับ แต่ก่อนอื่นอย่าลืมศึกษาเนื้อหาการปั่นส่วนตัวต่างๆให้ดีเสียก่อน ก่อนจะไปร่วมทางกับใครเค้า เดี๋ยวใจเราอยากจะมีเพื่อนร่วมทางแต่พอไปแล้วเพื่อนๆพากันส่ายหน้าไม่อยากรับมาอยู่ใกล้ๆ กลัวจะเป็นบ่อเกิดดราม่าทุ่มทุนอลังการงานเสียหายหลายแสน
วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
หมวกกันน็อคจักรยานที่ดีที่สุด
หมวกกันน็อคจักรยานที่ดีที่สุด ไม่ใช่หมวกที่แอโร่ที่สุด ไม่ใช่หมวกที่เบาที่สุด และไม่ต้องหล่อที่สุด แต่ใส่แล้วสบาย เข้ากับทรงของศีรษะและกระชับที่ที่สุด
การเลือกหมวกก็ต้องไปทำการ"ลอง"สวมใส่และดูว่ามันเข้ากับตัวเราแค่ไหน ไอ้ที่ว่ากันว่าดีนักหนา อาจไม่ได้ดีและเหมาะกับทุกคนเสมอไป หัวใครก็หัวมัน(ตามชื่อบทความ) ต้องได้ลองเองจึงจะรู้ได้ แต่วันนี้ลองมาดูวิธีการเลือกหมวกให้โดนใจกันเป็นทริคเล็กๆซัก 4 ประการ
1.ถูกงบถูกเงิน
จากบทความบทที่หนึ่งและสองจะพบว่าหมวกกันน็อคจัรกยานจริงๆแล้วมีความปลอดภัยไม่ได้แตกต่างกันมากนักหากมีการรับรองสัญลักษณ์มาในระดับเดียวกัน สิ่งที่ต่างก็คือ ความสบายในการใช้งาน ความสบายนี้ก็ประกอบไปด้วยความเบา ความเย็นของรูระบายอากาศ ที่รวมๆกันแล้วยังได้หมวกที่แข็งแรงดีอยู่ แถมด้วยปัจจัยยอดฮิตแห่งยุคก็คือแอโร่ไดนามิคส์ที่ดี ใส่แล้วเร็วขึ้นอีก 30 วินาทีโดยไม่ต้องทำอะไร ทั้งหมดนี้แลกมาด้วยราคาค่าตัวที่แตกต่างกัน อย่าน้อยใจที่ไม่สามารถสอยหมวกสุดหรูดูดีมีชาติตระกูลมาได้ แต่ขอให้ทำการบ้านให้หนักว่าหมวกที่คุณต้องการนั้นมัน"ตอบโจมย์"ที่สุดแล้วหรือยังในงบที่กำเงินไป อย่าลืมมองหาแบรนด์ที่อาจจะไม่ได้คุ้นหู ไม่ได้เป็นที่นิยม อย่ากลัวว่าของมันจะไม่ดี เพราะคุณรู้จักตรารับรองคุณภาพแล้ว
2.รูปทรงเข้ากับกระโหลก
กระโหลกคนเราไม่ได้มรูปร่าง รูปทรงที่เหมือนกันไปเสียหมดทุกคน บางคนหัวแบน บางคนหัวทุย บางคนหัวกลม บางคนหัวรี หมวกก็ไม่ได้ออกแบบมาเหมาะกับทุกรูปทรงหัว นักออกแบบแต่ละค่ายพยายามหาทรงที่เข้าที่เข้าทางเป็นมาตรฐานที่สุด แถมด้วยระบบปรับละเอียดรัดต่างๆแล้วแต่ที่แต่ละยี่ห้อจะชูธงวิธีปรับมาอวดอ้างกัน อย่างไรเสีย หมวกก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคนไปเสียหมด สายรัดท้ายทอยหรือการปรับความตึงอาจสามารถรัดหมวกให้พอดีกระชับได้ ทว่าในการรับกับทรงนั้นส่งผลไปถึงการระบายอากาศ และการรองรับการกระแทกอีกด้วย ทางเดินอากาศภายในหมวกอาจไม่สามารถส่งลมผ่านเข้าไปได้ตามที่ออกแบบมาเพราะไม่รับกับทรงหัว หรือช่องว่าที่มีอาจกลายเป็นต้นตอของอาการบาดเจ็บเมื่อเกิดการกระแทกขึ้น ดังนั้นหมวกที่ดีและเหมาะจริงๆคือหมวกที่เมื่อวางลงไปบนศีรษะของคุณ หมวกอยู่ได้พอดี รับกับทรงได้โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ในทางกลับกันหมวกที่ไม่เหมาะคือหมวกที่ไม่ว่าจะปรับอย่างไร ทั้งสายรัดคางและระบบปรับความแน่นแล้วก็ยังไม่พอดีเสียที
3.ใส่กระชับมั่นคง
เมื่อทรงของหมวกเป็นที่ต้องกับทรงของกระโหลก ได้เวลาทดลองรัดสายรัดและปรับความแน่นของหมวกได้ดี ตามทฤษฏีนั้น หมวกควรอยู่ได้อย่างมั่นคงไม่คลอนไปมาแม้เพียงการรัดสายรัดคางเบาๆ การรัดสายรัดคางควรปรับความตึงของสายรัดให้แน่นพอดีที่จะสอดน้ำเข้าไปสองนิ้วระหว่างสายรัดกับคางได้ เพื่อให้สามารถก้มและเงยหน้าได้โดยไม่โดนสายรัดบีบ อย่าลืมปรับรอยต่อสายรัดที่ใต้ใบหูให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ก่อความรำคาญ ท่สำคัญหมวกหลายๆยี่ห้อสามารถปรับสายรัดให้หมวกก้มหรือเงยได้ตามต้องการ จัดให้หมวกอยู๋ในแนวระนายที่ดี ไม่ก้มลงมาจนปิดบังทัศนียภาพ หรือเงยจนเปิดหน้าผากเหม่งเป็นอันตรายเมื่อล้มลงไป สุดท้ายจึงลองหมุนปรับระบปรับละเอียดอีกครั้ง หลายๆคนเข้าใจผิดว่าหมวกอยู่ได้ดีด้วยการหมุนรัดแน่นๆ ซึ่งไม่ดีต่อการระบายอากาศและบีบรัดมากเกินไป หมวกที่ดีอย่างที่อธบิายเอาไว้นั้น เมื่อรดสาย และปรับความตึงพอดี แม้ว่าจะโยกหัวไปมา ส่ายตามเพลงสุดมันส์ก็ยังอยู่คงที่ไม่หล่นเอียงไปเกะกะ
4.หล่อเหลาเข้ากับหน้า
ไหนบทความนี้บอกว่าการเลือกของให้ดูที่ความปลอดภัย การออกแบบ และราคา? แต่ใครจะปฏิเสธได้ครับว่าหมวกที่ทรงภายนอกบานใส่กับคนหน้าเรียว เล็ฏคางแหลมกลายเป็นเห็ดมันช่างดูไม่เหมาะเสียเหลือเกิน หรือพ่อหนุ่มหน้าบาน คางกว้าง แป้นมาแต่ไกลแต่ใส่หมวกหลิมยอดเรียวเล็ก เป็นหัวหอมวางบนเต้าหู้ แบบนีก็ไม่เหมาะ อย่าลืม อย่าลืมนะครับว่าคุณออกไปปั่นจักรยานบนที่สาธารณะ ต่อหน้าผู้คนมากมาย ลองเอากระจกมาส่องดูซักหน่อยว่ามันเข้ากับหน้าตา แว่นกันแดด หรือแม้แต่ชุดปั่นก็ไม่เสียหาย ยิ่งสมัยนี้สาวๆมาปั่นกันเยอะ ตามไสตล์สาวแฟชั่นที่มีรองเท้าสองโหลทั้งๆที่มีเท้าแค่ 2 ข้าง ก็ไม่แปลกเลยที่จะมีหมวก 7-8 ใบทั้งๆที่มีหัวเดียว เพื่อให้เข้ากับชุดที่จะใส่ไปปั่น สุขภาพดี หน้าตาดี อะไรๆก็ดีไปหมด
สุดท้ายขอฝากข้อมูลสำคัญที่หลายๆท่นอาจมองข้าม
จากการออกแบบของหมวกที่อธิบายไปในบทความตอนที่หนึ่ง หมวกที่โครงสร้างเกิดความเสียหายแม้เพียงนิดเดียวอาจเสียคุณสมบัติในการกระจายแรงไปอย่างสิ้นเชิง และแปลว่ามันได้หมดหน้าที่การป้องกันสมองของคุณๆไปเสียแล้ว ดังนั้นหมวกที่ผ่านการล้มมาแล้ว แม้จะไม่แตก ไม่ร้าว ขอให้มันได้กระแทกลงพื้น จงอย่าเสียดายแล้วหาใบใหม่มาใส่เถิดครับ คุณเลือกไม่ได้หรอกว่าคราวหน้าจะเอาหัวส่วนไหนโหม่งพื้น หรือความเสียหายบางอย่างก็มองไม่เห็นจากภายนอก
อีกประการที่สำคัญที่สุด หมวกกันน็อคเหล่านี้มีอายุการใช้งานด้วยนะครับ วัสดุซับแรงเหล่านี้จะเสื่อตัวเองไปเรื่อยๆเมื่อโดนความร้อนเป็นเวลานานๆ แม้ว่าไม่ได้ใช้หรือกระแทกอะไรเลย หมวกยิ่งเก็บไว้นานเท่าไหร่ก็ยิ่งเสื่อมลงไปเรื่ือยๆ แม้ว่าหมวกสมัยใหม่จะมีอายุยาวนานกว่าเมื่อก่อนมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงแนะนำให้เปลี่ยนหมวกทุกๆ 10-15 ปี แม้ว่าจะไม่ล้มหรือไม่มีแม้รอยแมวข่วน ลองคำนวนราคาหมวกเผื่อการใช้งานยาวๆเอาไว้ด้วย อย่าคิดว่าซื้อมาใบละหมื่นแล้วมันจะอยู่ไปยันลูกเลื่อ่นตำแหน่งเป็นหัวหน้าสาขาหรือผู็อำนวยการ ไม่มีอะไรที่พ้นอนิจจังไปได้ครับ
5 เหตุผลชวนปั่น
เหตุผลที่ควรออกกำลังกายด้วยจักรยานนั้นเป็นเรื่องที่พูดถึงทั่วไปในกระแสสองล้อมาแรงระยะ 2-3 ปีหลังสุดมานี้ ทำให้นักปั่นเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เราขอรวบรวม"ข้อดี"ของจักรยาน ที่ผู็รักการออกกำลังกายต่างลงความเห็นตรงกันว่ามันข่างวิเศษ เพื่อร่วมตอกย้ำให้ทุกท่านที่รักการปั่น จงรีบคว้าจักรยานออกไปขี่กันให้สนุกสนานได้สุขภาพที่ดี และอย่าลืม...ชวนเพื่อนๆมาปั่นกันเยอะนะครับ
1.ไร้แรงกระแทก
ไม่ว่าคุณจะหนัก 50 กก. หรือ 140 กก. จักรยานเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ส่งแรงกระแทกต่อข้อต่อใดๆทั้งสิ้น น้ำหนักตัวไม่มีผลกับการออกกำลังกาย ต่างจากการวิ่งที่ส่งแรงกระแทกเข้าไปที่ข้อต่อช่วงเข่าและข้อเท้า ซึ่งไม่ดีต่อคนที่มีอายุหรือน้ำหนักมากๆ กีฬาอื่นๆเช่นเทนนิส ฟุตบอล แบดมินตัน ก็อยู๋บนพื้นฐานของการวิ่งทั้งสิ้น ส่วนกอล์ฟนั้นไม่เกิดแรงกระแทกก็จริงแต่มีอัตราการเผาผลาญพลังงานต่ำกว่า กีฬาหนึ่งที่ไร้แรงกระแทกได้แก่ว่ายน้ำ ทว่า...คุณต้องเป็นคนที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมไปๆกลับๆได้หลายๆรอบนะครับ
2.ง่ายๆได้ทุกวัน
จักรยานเป็นหึ่งในไม่กี่กิจกรรมที่คุณสามารถทำได้ทุกเมื่อที่ต้องการ หากอยากว่ายน้ำคุณต้องไปสระว่ายน้ำ อยากเล่นเวทต้องไปยิมหรือฟิตเนส อยากเตะฟุตบอลคุณต้องมีที่ว่างโล่ง จักรยานเพียงแค่คุณมีจักรยานและถนนหรือเส้นทางก็สามารถลงมือออกกำลังได้แล้ว อย่าคิดอะไรซับซ้อมถึงงสนามเขียวหรือถนนสวรรค์นักปั่น เพียงขี่จักรยานไปซื้อของแถวบ้าน ก็สามารถเป็นการออกกำลังกายได้หากคุณต้องการ ในการศึกษาที่กรุงโคเปนเฮเก้น เมืองหนึ่งที่มีผู้ใช้จักรยานมากๆพบว่าผู้ที่ใช้จักรยานสัญจรทั่วไประยะางไม่ไกล มีอัตราความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยน้อยกว่าผู้ใช้รถยนต์ถึง 1 ใน 3
3.ต่อเนื่อง
การออกกำลังกายเพื่อความฟิตพื้นฐานที่ดีที่แพทย์และนักวิชาการลงความเห็นคือการออกกำลังกายที่ต่อเนื่อง ราบเรียบและใช้ระยะเวลานานกว่า 30-45 นาที จักยานนอกจากจะปั่นได้ทุกเมื่อ และไร้แรงกระแทก ทุกคนยังสามารถปั่นจักรยานต่อนเื่องได้เรื่อยๆ ลองคิดถึงเส้นทางเลียบชายหากยาวๆ 5 กม. กับจักรยานจ่ายตลาดแม่บ้านสักคัน เพียงแค่ปั่นไปดูปลายหาดแล้วปั่นกลับมา เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ออกกำลังกายราว 30 นาที โดยที่มีการออกแรงที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ แถมรับลมเย็นสบายใจ กีฬาอื่นๆเช่นเทนนิส ฟุตบอล แบดมินตัน อัตราชีพจรจะขึ้นๆลงๆตามรูปเกมส์ที่เล่น แต่จักรยาน"คุณ"คือผู้ควบคุมความเร็ว
4.เข้มข้นได้ดังใจ
ในการออกกำลังกายขั้นสูงขึ้นมาอีกนิด เราต้องเร่งเร้าการออกกำลังไปยังระดับที่ชีพจรเต้นราว 80% ของชีพจรสูงสุด เพื่อให้ได้พัฒนาระบบหมุนเวียนโลหิตสูงสุด มีกีฬาไม่กี่ชนิดหรอกนะครับ ที่คุณสามารถจงใจออกแรงเข้มข้นและคงที่ระยะนั้นเอาไว้ได้ชั่วขณะที่้องการ หรือแม้แต่การออกกำลังกายแบบอินเทอร์วัล(Intervals) ที่เร่งขึ้นไปไ้ด้จนถึงระดับอะแนโรบิค หลายๆท่านที่มีที่ปรึกษาฟิตเนสมักจะแนะนำว่าจักรยานเป็นแค่อุปกรณ์การเบิร์น หากแต่เมื่อคุณได้สัมผัสและปั่นมันเข้าเส้นจริงๆ คุณจะรู็ว่ากีฬาจักรยานนี้ใช้ระบบพลังงาน"ครบ"ทุกย่างการออกแรงเลยทีเดียว
5.ไปด้วยกันไร้ขอบเขต
มีกีฬาอะไรบ้าง ที่ทำให้คุณ"ด้เห็นทุ่งนาสวยงามห่างจากกลางกรุงเพียง 30 นาที มีกีฬาอะไรบ้างที่พาคุณไปยืนชมวิวณยอดเขาสูงเห็นเมืองทั้งเมือง มีกีฬาอะไรบ้างที่ตลอดระยะเวลาการออกกำลังคุณได้พบกับผู้คนและรอยยิ้มไปตลอดทาง จักรยานคือพาหนะโดยตัวของมันเอง มีหน้าที่พาคุณจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งไร้ขอบเขตุอย่างสิ้นเชิง ทุกวินาทีระหว่างจุดทั้งสองคือเรื่องราวที่ไม่จบสิ้น อิสระเสรีของจิตใจวัยเด็กกลับมาเสมอบนจักรยาน ไม่มีกรอบสี่เหลี่ยม ไม่มีมุม ไม่มีประตู ไม่มีเน็ทตาข่าย มีแต่ตัวและใจของคุณกับสองล้อและเส้นทาง เหตุผลง่ายๆเพียงเท่านี้ น่าจะพออธิบายได้ว่าทำไมคนจึงหันมาหลงใหลกับจักรยานมากขึ้นในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายๆคนติดและสนุกกับมันจนเป็นมากกว่าแค่กระแส อย่าปล่อยให้มันผ่านไป โอกาสที่ได้สัมผัสกับักรยานยังไม่หมดหรอกครับ กระแสจะยังอยู๋หรือไม่ก็ตาม อยากให้ทุกคนลองเอาสองล้อมาขี่เล่น นึกย้อนไปหาอิสระเสรี ฝ่าลมไปด้านหน้าด้วยกันกับพาหนะคันแรกๆของหลายๆคนอีกครั้ง สลัดคราบพนักงาน ลูกจ้าง เจ้าของ นักธุรกิจ ลุกจากโต๊ะ เย็นนี้ เสาร์นี้ อาทิตย์นี้ ออกเดินทางไปด้วยกัน
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558
ถอดล้อจอดรถ
ทำไมต้องถอดล้อ?? ผมเชื่อว่าที่หลายๆคนไม่ได้สนใจว่ามันจะถอดอย่างไรก็เพราะไม่รู็จะถอดมันมาทำไม แต่การถอดล้อหน้าและหลัง คือก้าวแรกที่ท่านกำลังจะกลายเป็นนักปั่นที่รักจักรยานจริงๆ เพราะเมื่อท่านถอดล้อได้เอง ท่านจะล้างจักรยานได้สะอาดขึ้น เข้าถึงซอกมุมได้มากขึ้น ท่านจะได้เห็นรอยเลอะและกลไกต่างๆชัดเจนขึ้น ที่สำคัญเมื่อยางรั่ว ท่านสามารถพอดงัดยางได้ง่ายขึ้นถ้าถอดล้อออกมาได้ แค่ก่อนจะถอดล้อเป็นเรามาดูวิธีการจอดรถที่ควรฝึกเป็นนิสัยกันกน่อ
เกียร์จักรยานทั่วไปไม่ว่าเสือหมอบหรือเสือภูเขา ในระบบการเปลี่ยนเกียร์ทั้งหน้าและหลัง(สับจานและตีนผี)จะมีสปริงโลหะทำหน้าที่ดึงการเคลื่อนไหวเอาไว้อยู่ ยิ่งเราเอาโซ่วิ่งบนเฟืองใหญ่และจานใหญ่ ก็คือการง้างสรปิงนั้นเอาไว้ตลอดเวลา เมื่อเอาเข้าเฟืองเล็กสุด สปริงจะหดตัวกลับมาในสภาพดั้งเดิมไม่มีแรงเครียด ดังนั้นวิธีการจอดจักรยานเก็บที่ดีที่สุดคือการลดแรงตึงในสปริงลง เข้าเฟืองหลังเอาไว้ที่เฟืองเล็กสุด และจานหน้าใบเล็กที่สุด สปริงของอุปกรณ์ท่านก็จะมีอายุการใช้งานยาวนาน
และที่เฟืองหลังนี้เอง คือทริคเล็กๆในการถอดล้อหลัง
แต่ยังหรอกครับเรามาหัดถอดล้อหน้ากันก่อนดีกว่า
วิธีการถอดล้อนั้นขั้นแรกที่สุด เราต้องทำการ"ง้าง"ก้ามเบรคออกเสียก่อน สำหรับ Shimano และ Sram เอามือไปหมุนลูกบิดอ้าก้ามเบรคให้กว้างขึ้น ถ้าเป็น Campagnolo เอามือกดสลักที่มือชิฟเตอร์ และหากเ)็นเบรคแบบอื่นๆเช่นวีเบรค ก็ปลอดสายเบรคออกจากตัวล็อคสายเบรค เบรคก็จะอ้าออกกว้างพอที่จะให้ยางผ่านไปได้
จากนั้น เอามือหมุนปลดสลักแกนปลดแล้วคลายน็อตที่ยึดออกพอประมาณ อย่าหมุนจนหลุดนะครับ เดี๋ยวสปริงมันจะหลุดหาย ถ้าหมุนออกมาแล้วจนคลายล็อค ก็จะดึงล้อออกได้โดยไม่ต้องใช้แรง เพียงเท่านี้ล้อหน้าก็หลุดออกมาอย่างง่ายดาย
ต่อมาคือล้อหลัง หลังจากที่เข้าเกียร์ไปที่เฟืองเล็กสุด อ้าก้ามเบรคแล้ว ก็คลายล็อคแกนปลด หมุนคลายแกนปลดออก จากนั้นยกเฟรมดึงขึ้นถอยหลังนิดหน่อย ล้อก็จะหลุดออกมาโดยง่าย ไม่ต้องเอามือไปจับโซ่เลย อย่างมากหากดึงไม่ออกจริงๆ ลองเอามือง้างขาตีนผีนิดหน่อยแล้วดึงเฟรมขึ้นเบาๆ ล้อก็หลุดแล้วครับ ปัญหาที่ถอดกันไม่ออกก็คือ ไม่ได้เข้าเกียร์ไว้ที่เฟืองเล็กสุด ตีนผีมันง้างตัวเองอยู่ โซ่มันรัดล้ออยู่ ดึงออกยาก ติดแนวตีนผี พอเราเอาไปอยู๋เฟืองเล็กสุด โซ่มันพาดเข้าล็อคอยู๋ ตีนผีหดตัวกลับและเบี่ยงตัวเองหลบแนวที่ดึงล้อออก
เวลาไม่มีล้อ อย่าวางจักรยานลงไปบนตีผีนะครับ ตีนผีเป็นส่วนที่อ่อนแอมากของรถ เบี้ยวนิดเียวเกียร์เพียร์แหลกได้เลย วางนอนลงไปเลยเบาๆดีที่สุด หรือจะจับวางตั้งเอาหัวลงบนปลายตะเกียบกับมือเบรคเอาตีนผีชูฟ้าพิงเอาไรไว้ก็ได้แต่อาจมีรอยที่มือก้านเบรค หรือจะวางกลับหัวเอาเบาะกับแฮนด์ลงพื้น แต่วิธีนี้ โซ่อาจหลุดออกมาจากจานได้ แถมโซ่อาจพลิกจนต้องมาแกะข้อโซ่ที่พันกันได้อีก (ผมจึงคิดว่าวางนอนไปดื้อๆนั่นแหละ)
เอาล่ะครับ ต่อมาคือการใส่ล้อกลับเข้าไป เราต้องเริ่มจากล้อหลังก่อนเสมอ
จับตักรยานแนวตั้งตรงปกติ เอาล้อเล็งเข้าช่องซุ้มล้อ ให้เข้าไปที่ก้ามเบรคพอดี เล็งพาดให้โซ่อยู๋บนเฟืองเล็กสุดพอดีเป๊ะ ดึงล้อเข้ามาที่หางปลาหลัง จากนั้นดึงล้ำขึ้นหรือเข้าหาเฟรม ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ล้อจะเข้าล็อคพอดีเป๊ะ แกนปลดสองข้างเข้าที่ เฟืองและโซ่เข้าที่ แต่ถ้าเบี้ยวไปอาจเกิดอาการล้อติดก้ามเบรค หรือล้อเบียดเฟรม ก็ถอดออกแล้วเล็งใหม่ บางกรณีอาจพบว่าตีนผีแข็งมาก วิธีช่วยก็คือ ดึงล้อเข้าหาเฟรมพร้อมๆกับเอามือง้างขาตีนผีลงล่างไปพร้อมกัน โซ่จะเข้าล็อคเฟืองได้ง่ายขึ้น
จากนั้น วางลงพื้นแนวตั้ง ให้น้ำหนักรถกดลงบนแกนล้อ แล้วขันแกนปลดเข้าพอตึงมือแล้วล็อคหางแกนปลดเอาไว้ แล้วปิดก้ามเบรคเข้าที่เดิม ลองหมุนบันไดดู ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ก็จะไม่มีปัญหาอะไร ปัญหาที่อาจเกิดเช่น
1.ใส่แล้วล้อเบี้ยวไปสีก้ามเบรค วิธีแก้คือ คลายแกนปลดออก วางรถลงพื้น เอามือบีบเบรคหลังให้แน่น แล้วล็อคแกนปลดโดยไม่คลายเบรค แล้วลองหมุนล้อดูอีกครั้งว่าสีผ้าเบรคอยู่หรือไม่
2.เฟืองล็อคล้อล็อคไม่หมุน แสดงว่าโซ่ไม่เข้าที่เฟืองเล็กเกิดขบกันอยู่ ให้ถอดล้อแล้วใส่ใหม่ ทำเองครั้งแรกๆมักจะเป็นครับ เพราะแนวล้อและโซ่ไม่ตรงกัน
3.ใส่อย่างไรก็เบี้ยว ปัญหามักมาจากการหงายรถขึ้นฟ้าแล้วใส่ล้อ เวลาหงายรถขึ้นฟ้า น้ำหนักรถไม่ได้ตกลงบนแกนล้อ ทำให้ล้อเบี้ยวไปมาได้ง่าย ดังนั้นการใส่ล้อที่ดีคือการใส่ล้อโดยให้น้ำหนักเฟรมรถกดลงบนแกนล็อคแล้วล็อคให้แน่น ล้อจะเข้าล็อคสุดไม่เหลื่อมและไม่เบี้ยว
ต่อมาก็ใส่ล้อหน้า ซึ่งง่ายมากเมื่อเทียบกับล้อหลัง..เพียงเอาล้อมา ดูให้แกนปลดอยู๋ด้านซ้ายของรถ วางตะเกียบลงบนล้อให้พอดี ขันแกนปลดให้ตึงมือแล้วปิดล็อค ปิดก้ามเบรคลง ลองหมุนดู เป็นอันเสร็จสิ้นครับ
สรุป
- จอดรถทุกครั้ง เข้าจานเล็ก เฟืองเล็กเก็บเอาไว้ดีกว่า เข้าเฟืองเล็กทุกครั้งเวลาจะจอดเปลี่ยนล้อหลัง ถอดได้ง่ายกว่า
- ถอดล้อหลัง ต้องอยู๋ที่เฟลืองเล็กสุด ถอดและใส่โดยให้โซ่อยู๋ตรงกับเฟืองเล็กสุดเสมอ มือจะไม่ต้องไปจับโซ่เลย
เกียร์จักรยานทั่วไปไม่ว่าเสือหมอบหรือเสือภูเขา ในระบบการเปลี่ยนเกียร์ทั้งหน้าและหลัง(สับจานและตีนผี)จะมีสปริงโลหะทำหน้าที่ดึงการเคลื่อนไหวเอาไว้อยู่ ยิ่งเราเอาโซ่วิ่งบนเฟืองใหญ่และจานใหญ่ ก็คือการง้างสรปิงนั้นเอาไว้ตลอดเวลา เมื่อเอาเข้าเฟืองเล็กสุด สปริงจะหดตัวกลับมาในสภาพดั้งเดิมไม่มีแรงเครียด ดังนั้นวิธีการจอดจักรยานเก็บที่ดีที่สุดคือการลดแรงตึงในสปริงลง เข้าเฟืองหลังเอาไว้ที่เฟืองเล็กสุด และจานหน้าใบเล็กที่สุด สปริงของอุปกรณ์ท่านก็จะมีอายุการใช้งานยาวนาน
และที่เฟืองหลังนี้เอง คือทริคเล็กๆในการถอดล้อหลัง
แต่ยังหรอกครับเรามาหัดถอดล้อหน้ากันก่อนดีกว่า
วิธีการถอดล้อนั้นขั้นแรกที่สุด เราต้องทำการ"ง้าง"ก้ามเบรคออกเสียก่อน สำหรับ Shimano และ Sram เอามือไปหมุนลูกบิดอ้าก้ามเบรคให้กว้างขึ้น ถ้าเป็น Campagnolo เอามือกดสลักที่มือชิฟเตอร์ และหากเ)็นเบรคแบบอื่นๆเช่นวีเบรค ก็ปลอดสายเบรคออกจากตัวล็อคสายเบรค เบรคก็จะอ้าออกกว้างพอที่จะให้ยางผ่านไปได้
จากนั้น เอามือหมุนปลดสลักแกนปลดแล้วคลายน็อตที่ยึดออกพอประมาณ อย่าหมุนจนหลุดนะครับ เดี๋ยวสปริงมันจะหลุดหาย ถ้าหมุนออกมาแล้วจนคลายล็อค ก็จะดึงล้อออกได้โดยไม่ต้องใช้แรง เพียงเท่านี้ล้อหน้าก็หลุดออกมาอย่างง่ายดาย
ต่อมาคือล้อหลัง หลังจากที่เข้าเกียร์ไปที่เฟืองเล็กสุด อ้าก้ามเบรคแล้ว ก็คลายล็อคแกนปลด หมุนคลายแกนปลดออก จากนั้นยกเฟรมดึงขึ้นถอยหลังนิดหน่อย ล้อก็จะหลุดออกมาโดยง่าย ไม่ต้องเอามือไปจับโซ่เลย อย่างมากหากดึงไม่ออกจริงๆ ลองเอามือง้างขาตีนผีนิดหน่อยแล้วดึงเฟรมขึ้นเบาๆ ล้อก็หลุดแล้วครับ ปัญหาที่ถอดกันไม่ออกก็คือ ไม่ได้เข้าเกียร์ไว้ที่เฟืองเล็กสุด ตีนผีมันง้างตัวเองอยู่ โซ่มันรัดล้ออยู่ ดึงออกยาก ติดแนวตีนผี พอเราเอาไปอยู๋เฟืองเล็กสุด โซ่มันพาดเข้าล็อคอยู๋ ตีนผีหดตัวกลับและเบี่ยงตัวเองหลบแนวที่ดึงล้อออก
เวลาไม่มีล้อ อย่าวางจักรยานลงไปบนตีผีนะครับ ตีนผีเป็นส่วนที่อ่อนแอมากของรถ เบี้ยวนิดเียวเกียร์เพียร์แหลกได้เลย วางนอนลงไปเลยเบาๆดีที่สุด หรือจะจับวางตั้งเอาหัวลงบนปลายตะเกียบกับมือเบรคเอาตีนผีชูฟ้าพิงเอาไรไว้ก็ได้แต่อาจมีรอยที่มือก้านเบรค หรือจะวางกลับหัวเอาเบาะกับแฮนด์ลงพื้น แต่วิธีนี้ โซ่อาจหลุดออกมาจากจานได้ แถมโซ่อาจพลิกจนต้องมาแกะข้อโซ่ที่พันกันได้อีก (ผมจึงคิดว่าวางนอนไปดื้อๆนั่นแหละ)
เอาล่ะครับ ต่อมาคือการใส่ล้อกลับเข้าไป เราต้องเริ่มจากล้อหลังก่อนเสมอ
จับตักรยานแนวตั้งตรงปกติ เอาล้อเล็งเข้าช่องซุ้มล้อ ให้เข้าไปที่ก้ามเบรคพอดี เล็งพาดให้โซ่อยู๋บนเฟืองเล็กสุดพอดีเป๊ะ ดึงล้อเข้ามาที่หางปลาหลัง จากนั้นดึงล้ำขึ้นหรือเข้าหาเฟรม ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ล้อจะเข้าล็อคพอดีเป๊ะ แกนปลดสองข้างเข้าที่ เฟืองและโซ่เข้าที่ แต่ถ้าเบี้ยวไปอาจเกิดอาการล้อติดก้ามเบรค หรือล้อเบียดเฟรม ก็ถอดออกแล้วเล็งใหม่ บางกรณีอาจพบว่าตีนผีแข็งมาก วิธีช่วยก็คือ ดึงล้อเข้าหาเฟรมพร้อมๆกับเอามือง้างขาตีนผีลงล่างไปพร้อมกัน โซ่จะเข้าล็อคเฟืองได้ง่ายขึ้น
จากนั้น วางลงพื้นแนวตั้ง ให้น้ำหนักรถกดลงบนแกนล้อ แล้วขันแกนปลดเข้าพอตึงมือแล้วล็อคหางแกนปลดเอาไว้ แล้วปิดก้ามเบรคเข้าที่เดิม ลองหมุนบันไดดู ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ก็จะไม่มีปัญหาอะไร ปัญหาที่อาจเกิดเช่น
1.ใส่แล้วล้อเบี้ยวไปสีก้ามเบรค วิธีแก้คือ คลายแกนปลดออก วางรถลงพื้น เอามือบีบเบรคหลังให้แน่น แล้วล็อคแกนปลดโดยไม่คลายเบรค แล้วลองหมุนล้อดูอีกครั้งว่าสีผ้าเบรคอยู่หรือไม่
2.เฟืองล็อคล้อล็อคไม่หมุน แสดงว่าโซ่ไม่เข้าที่เฟืองเล็กเกิดขบกันอยู่ ให้ถอดล้อแล้วใส่ใหม่ ทำเองครั้งแรกๆมักจะเป็นครับ เพราะแนวล้อและโซ่ไม่ตรงกัน
3.ใส่อย่างไรก็เบี้ยว ปัญหามักมาจากการหงายรถขึ้นฟ้าแล้วใส่ล้อ เวลาหงายรถขึ้นฟ้า น้ำหนักรถไม่ได้ตกลงบนแกนล้อ ทำให้ล้อเบี้ยวไปมาได้ง่าย ดังนั้นการใส่ล้อที่ดีคือการใส่ล้อโดยให้น้ำหนักเฟรมรถกดลงบนแกนล็อคแล้วล็อคให้แน่น ล้อจะเข้าล็อคสุดไม่เหลื่อมและไม่เบี้ยว
ต่อมาก็ใส่ล้อหน้า ซึ่งง่ายมากเมื่อเทียบกับล้อหลัง..เพียงเอาล้อมา ดูให้แกนปลดอยู๋ด้านซ้ายของรถ วางตะเกียบลงบนล้อให้พอดี ขันแกนปลดให้ตึงมือแล้วปิดล็อค ปิดก้ามเบรคลง ลองหมุนดู เป็นอันเสร็จสิ้นครับ
สรุป
- จอดรถทุกครั้ง เข้าจานเล็ก เฟืองเล็กเก็บเอาไว้ดีกว่า เข้าเฟืองเล็กทุกครั้งเวลาจะจอดเปลี่ยนล้อหลัง ถอดได้ง่ายกว่า
- ถอดล้อหลัง ต้องอยู๋ที่เฟลืองเล็กสุด ถอดและใส่โดยให้โซ่อยู๋ตรงกับเฟืองเล็กสุดเสมอ มือจะไม่ต้องไปจับโซ่เลย
10 เคล็ดลับการฝึกซ้อมจักรยาน
จักรยานเป็นกีฬาและการออกกำลังกายที่อาศัยพลังใจและความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เอาชนะตนเอง แต่ไม่เพียงเท่านั้น ในการฝึกซ้อมและพัฒนาศักยภาพทั้งความเร็ว ไปจนระยะทางที่ปั่นได้ จาก 15 กม. ไปเป็น 45 กม. หรือจาก 180 กม. ไปสู่ 250 กม. ต่างก็มีปัจจัยต่างๆเข้ามาอีกมากมาย
ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีการและโอกาสที่จะเริ่มพัฒนาการปั่นจากที่มีอยู่ หรือจะเร่ิมวางเป้าหมายไปข้างหน้าอย่างจริงจังมากกว่าขี่ๆเล่นๆยามว่าง ลองทำความเข้าใจกับปัจจัยเหล่นี้
-อุปกรณ์จักรยาน
-อาหารและพลังงาน
-เครื่องดื่มและของเหลว
-แบบฝึกและแผนการซ้ม
หรือลองดูเคล็ดลับหัวใจทั้ง 10 ประการของการฝึกซ้อมต่อไปนี้
1.ฟิตติ้ง
การขี่จักรยานที่ปรับตั้งไม่ถูกต้อง สร้างความทรมานจนการปั่นจักรยานไม่สนุก หรืออาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หากคุณกำลังคิดจะเริ่มฝึกซ้อมหรือเพิ่มเวลาฝึกซ้อม ไม่ดีแน่หากต้องปั่นจักรยานที่ผิดขนาดหรือไม่เหมาะสมกับร่างกาย จะเป็นการฟิตติ้งพื้นฐานด้วยตนเอง หรือใช้บริการฟิตติ้งมืออาชีพทั้งแบบปกติและแบบไฮเทคก็คุ้มค่าและไม่ควรมองข้าม เลือกให้เหมาะกับงบประมาณของแต่ละคน
2.กำจัดน้ำหนักบนตัว
ไม่ว่าจะเป็นการปั่นเพื่อเดินทางสัญจร หรือเพื่อเดินทางไกล และการฝึกซ้อมของนักกีฬา ลองดูดีๆว่าคุณแบกอะไรไว้บนร่างกายมากเกินไปหรือเปล่า? ย้ายของเหล่านั้นไปอยู่ติดกับจักรยานให้หมดจะดีที่สุด ลองมองหากระเป๋าติดรถใบเล็กๆ กระเป๋าติดแฮนด์ กระเป๋าใต้อาน อุปกรณ์เหล่นี้จะช่วยให้สามารถขี่จักรยานได้สบายตัวยิ่งขึ้น เมื่อสบายและคล่องตัว ก็สามารถขี่ได้นานและสนใจกับรายละเอียดอื่นๆได้มากขึ้นเช่นกัน
3.เครื่องแต่งกายที่ดีพร้อม
เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญ มากกว่าแค่ความหล่อ ความสวยของนักปั่น ลองมองหาเครื่องแต่งกาย ที่เหมาะสม
กางเกงจักรยาน : กางเกงจักรยานช่วยให้คุณสามารถขี่จักรยานได้นานขึ้น บ่อยขึ้น โดยที่ไม่ต้องเสียแรงเพิ่มขึ้น เพิ่มความสบายและลดการระคายเคืองลง อย่าลืมนะครับว่ากางเกงจักรยานถูกออกแบบให้ใส่แบบไม่มีกางเกงใน
แว่นกันแดด : จักรยานเป็นกีฬากลางแจ้งที่ผู้เล่นอยู่ภายใต้แสงอาทิตย์แรงจ้าเป็นเวลานานๆ ซึ่งรังสีอุลตร้าไวโอเลทส่งผลกับจอประสาทตาและความผิดปกติของสายตาได้ แว่นจักรยานช่วยกันอันตรายเหล่านี้ รวมไปถึงลมและสิ่งแปลกปลอมที่อาจเข้าตาได้ขณะปั่น
4.ระวังหิว
การปั่นโดยทีท้องว่าง พลังงานหมด หมดแรง ถือเป็นความผิดแรกๆที่พบในนักปั่นหน้าใหม่ๆ โดยเฉพาะคนที่อยากลดน้ำหนัก ลดความอ้วน เพราะจักรยานใช้พลังงานมหาศาลในการขี่ เผาผลาญได้ไม่น้อย หากร่างกายไม่มีพลังงาน หรือไม่พร้อมจะใช้พลังงาน อาการ"หมด"ก็จะมาถึงก่อนเวลาอันสมควร
5.ดื่มน้ำและของเหลว
ศึกษาหาวิธีและปริมาณการดื่มน้ำและเครื่องดื่มต่างๆอย่างถูกต้องช่วยให้การขี่จักรยานทำได้ง่ายและนานขึ้น เมื่อขี่ได้นานและสบายแปลว่าคุณสามารถซ้อมได้มากขึ้น พัฒนามากขึ้น การซ้อม"อด"เอาไว้นั้นนอกจากจะไม่ได้อะไรมากแล้วยังทรมานสังขารตัวเองเปล่าๆอีกด้วย
6.มองหาระยะทางไกลๆ
พื้นฐานของการปั่นจักรยานก็คือความอึด ทนทานของร่างกาย ให้คนปกติมาขี่จักรานอัดกันเร็วๆใครๆก็ทำได้ แต่คนซักกี่คนเล่า ที่จะสามารถขี่จักรยานได้ 100 กม. ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มปั่น การฝึกซ้อมระยะทางไกลช่วยพัฒนาความทนทานได้เป็นอย่างดี
7.อินเทอร์วัล
อินเทอร์วัล (Interval) หมายถึงการฝึกซ้อมที่อาศัยรูปแบบการปั่นหนักเบาเป็นช่วงๆสลับกันไปมาตามการออกแบบ ควบคุมความหนักและระยะเวลาของแต่ละช่วงเอาไว้เพื่อพัฒนาเฉพาะเจาะจงศักยภาพแต่ละส่วนให้ได้เต็มที่ สามารถเน้นพัฒนาเฉาะเรื่องต่างๆได้ดีไม่ว่าจะความทนทาน แข็งแรง ความคล่องแคล่ว เพราะต่อยอดจากพื้นฐานการปั่นที่มีอยู่
8.เครื่องมือพกพา
จัดเป็นสิ่งที่ควรติดตัวเอาไว้ เพราะวันไหนที่อารมณ์ดีอยากจะปั่นซัก 2 ชม.แบบเนื้อๆ ดันยางรั่วเสียตั้งแต่ 15 นาทีแลรก ทำให้ความตั้งใจพังลงอย่างรวดเร็ว
9.บันได
บันไดคลิปเลส หรือบันไดตะกร้อ อุปกรณ์ง่ายๆที่ช่วยให้การขี่จักรยานมีประสิทธิภาพขึ้นได้ทันที เพียงนำมาติดและฝึกฝนทักษะง่ายๆในการปั่น
10.หมวกกันน็อค
สิ่งสำคัญที่สุดเพื่อความปลอดภัย ถ้าคุณเกิดอุบัติเหตุและศีรษะกระแทก แน่นอนว่าคุณจะพลาดการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาตัวเองไปอีกนาน อาจจะตลอดไปก็ได้
เครื่องมือสามัญประจำบ้าน
ต้องเริ่มกันก่อนว่าเครื่องมือในรายการนี้ เป็นเครื่องมือสามัญที่หาซื้อได้ไม่ยาก มีขายทั่วไป หลากหลายราคา เพียงแต่อยากให้นักปั่นลงทุนซื้อของดีสักนิด เพราะเครื่องมือที่ไม่ได้คุณภาพอาจทำลายหัวน็อตที่ติดรถของท่านมากับชิ้นส่วนต่างๆ บางตัวน็อตทำจากไทเทเนียม แพงเสียยิ่งกว่าหกเหลี่ยมที่ใช้เสียอีก หัวรูด บานขึ้นมางานเข้าเสียของกันมาแล้วไม่น้อย เสียเงินซื้อจักรยานคันละหลักหมื่นไปจนแสน อย่ขี้่เหนียวเครื่องมือหลักพันเลย ส่วนใครจะใช้เครื่องมือยี่ห้อแบรนด์ช่างจักรยานอาชีพ ก็ทำงานได้ครอบคลุมและวางใจกับคุณภาพได้แน่นอน ส่วนตัวผมคิดว่าเลือกระดับราคาที่พอเหมาะ คุณภาพงานดี เนื้อโลหะดี ก็ใช้งานได้แล้วครับ
1.ชุดไขควง
สำหรับจักรยานใช้ไขควงกับน็อตสกรูน้อยมาก หลักๆคือน็อตที่สับจานและตีนผี นอกนั้นก็เป็นชิ้นส่วนยิบย่อยต่างๆ แต่เนื่องจากไขควงเป็นเครื่องมือที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง มีติดบ้านเอาไว้ก็ไม่เสียหายใข้งานอื่นได้ด้วย ไขควงสำหรับจักรยานใช้เป็นปากแฉกขนาดเล็กเสียเป็นส่วนใหญ่ ปากแฉกหัวเบ้อเร่อไม่จำเป็นนะครับ ส่วนตัวผมคิดว่าพวกกล่องๆขายทั่วไปก็ใช้งานได้แล้ว เพราะน็อตบนจักรยานขันแรงตึงไม่มากเท่าไหร่ ถ้ามือไม่แย่จริงๆ ไม่ทำหัวน็อตบานแน่นอน
2.หกเหลี่ยม
หกเหลี่ยมหรือ Allen Key เป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับจักรยานก็ได้ ไม่เชื่อท่านลองไปดูจักรยานของท่าน แล้วนับดูจะเห็นได้ ว่านับกันง่ายๆ คร่าวๆ บนจักรยานมีน็อตหกเหลี่ยมร่วมๆ 30 ตัวเข้าไปแล้ว และแต่ละตัวขันในจุดที่สำคัญ ต้องการแรงตึงเช่นหลักอาน, ปลายเสต็ม หรือยึดตีนผี ดังนั้นขอสนับสนุนให้ลงทุนใช้หกเหลี่ยมคุณภาพดีที่สุดเท่าที่งบจะมีได้ และหากเป็นไปได้จริงๆ ถ้าลงทุนได้ ใช้ชุดประแจปอนด์พร้อมบล็อคหกเหลี่ยมเบอร์มาตรฐานไปเลยจะดีที่สุด เพราะน็อตเกือบทั้งหมดบนจักรยานระบุมาพร้อมแรงบิดที่เฉพาะ หากขันไม่แน่นพออาจเกิดอันตรายได้เช่นน็อตยึดแฮนด์ หรือถ้าแน่นเกินไปอาจทำให้ชิ้นส่วนเสียหายได้เช่นบรรดาคาร์บอนทั้งหลาย ถ้าท่านคิดจะปรับระยะฟิตติ้งจักรยานง่ายๆเอง หกเหลี่ยมถือเป็นสิ่งที่"ต้องมี"ขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด
3.ที่งัดยาง
ไม่ว่านักปั่นจะนิยมการปะยางหรือไม่ แต่บอกได้เลยว่าในชีวิตการปั่นจักรยานใครไม่เคยยางรั่วถือว่าเป็นบุคคลผู้เปิดมาพร้อมกับโชคบุญหนุนนำเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงการเปลี่ยนยางนอกขนาดต่างๆด้วยตัวเอง ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรเลย ใครคิดว่ายากและทำไม่เป็นลองคิดดูดีๆว่าร้านซ่อมจักรยานเล็กๆรับซ่อมจักรยานแม่บ้าน ปะรูละ 5 บาท 10 บาท สามารถงัดยาง ปะและใส่กลับได้คล่องมือ มันอาจต้องใช้เทคนิคบ้างนิดหน่อย แต่ไม่ยากไปกว่าการซื้อสมาร์ทโฟนมาสักเครื่องแล้วเริ่มต้นตั้งค่าการใช้งานตั้งแต่แรกแน่ ชุดงัดยางมักมาพร้อมกับชุดปะยางพกพา ซึ่งเจ้านี่ก็เป็นหนึ่งในรายการของที่ควรพกเอาไว้เวลาออกไปปั่นอยู่แล้ว ดังนั้นมีติดไว้ชุดเดียวก็ใช้ได้ทั้งที่บ้านและนอกสถานที่ ราคาก็หลักสิบบาทเท่านั้น... ไม่มีสาเหตุอะไรที่จะไม่มี
4.สูบ
สูบลมเป็นเครื่องมือดูแลรักษาจักรยานที่สำคัญที่สุดในบรรดาอุปกรณ์ทีควรมีทั้งหมดที่กล่าวมา ชิ้นส่วนหลวม เบี้ยว ผิดขนาด ยังพอขี่ได้ เกียร์ไม่ลง ชำรุดยังพอขี่ได้ แต่เช้าวันไหนตื่นมายางแบบฟีบไร้ลม แล้วจะไปปั่นถ้าไม่ฝากชีวิตไว้กับเพื่อนที่มีสูบ รับรองว่าอดปั่นแน่ สูบแบ่งเป็นทั้งสูบพกพาและสูบตั้งพื้นใช้งาน สูบพกพาสามารถพกติดตัวได้ ขนาดเล็ก แต่ข้อเสียหลักๆคือกินแรงเพราะต้องอัดลมกันหลายสิบ หรือหลักร้อยครั้งกว่าจะได้แรงดันที่ต้องการ สูบใหญ่อัดลมได้เบามือกว่า แถมอัดลมต่อครั้งได้ลมมากกว่า ใช้จำนวนครั้งในการสูบน้อยกว่ากันมาก เลือกสูบให้เหมาะกับจักรยานของแต่ละท่าน สูบสำหรับเสือหมอบควรมองหาสูบที่อัดแรงดันลมยางได้ไม่น้อยกว่า 100psi ขึ้นไป และ/หรือเลือกสูบที่ปรับหัวเปลี่ยนใช้งานได้ทั้งหัวจุ๊บสูบเสือหมอบและเสือภูเขาก็ได้ สำหรับเสือภูเขาหรือจักรยานทั่วไป สูบที่ขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปก็ตอบโจทย์การสูบได้ แม้แต่สูบมอเตอร์ก็ใช้งานได้ดี แต่เสือหมอบโดยเฉพาะสายซิ่งอัดลมกัน 140-160psi เลือกสูบดีๆจะดีกว่า และอย่าลืมเลือกสูบที่มีเกจบอกแรงดันนะครับ มือใหม่นิ้วยังไม่เทพ บีบๆเอาวันไหนมือหนักจะสูบจนเกินแรงดันลมยางที่ควรสูบได้
สูบราคาตั้งแต่ 500 บาทไปจนหลายพันบาท ใช้งานดีเด่นต่างกันในรายละเอียด แต่ถ้าถามว่า"ใช้งานได้" ผมว่าใช้ได้เหมือนกัน
5.น้ำมันหยอดโซ่และจารบี
ข้อนี้อาจไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นอุปกรณ์ดูแลรักษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญขาดไม่ได้ เพราะน้ำมันโซ่ที่หล่อลื่นให้โซ่วิ่งไปได้ ขดตัวได้ เสียดสีกับเฟืองได้และสึกหรอน้อยที่สุดไม่ได้มีอายุใช้งานชัวฟ้าดินสลาย ไหนจะสิ่งแวดล้อม ฝุ่น ดิน จากถนนที่สะสมอยู่บนโซ่และในข้อต่อโซ่จนเป็นคราบสีดำๆ ฟ้องว่าการหล่อลื่นได้ลดประสิทธิภาพลงไปแล้ว ดังนั้นต่อให้ไม่ได้ล้างโซ่จนหมดจด แต่นักปั่นที่รักจักรยานและชุดขับเคลื่อนราคาหลายหมื่น สามารถยืดอายุการใช้งานได้มากกว่าสองเท่าด้วยการดูแลง่ายๆเพียงเอาผ้าเช็ดรูดคราบให้โซ่สะอาด ล้างน้ำเปล่าหรือน้ำผงซักฟอกเจือจางแล้วเช็ดจนแห้ง จากนั้นหยอดน้ำมันกลับเข้าไป ทำบ่อยๆโซ่จะสึก(ยืด)ช้าลง วิ่งเงียบเสียงนุ่ม ส่วนจะเป็น้ำมันแบบไหน ราคาอย่างไร ตามแต่ทรัพย์และใจจะจัดหา บางคนชอบแบบน้ำมัน บางท่านชอบแบบแว็กซ์ แต่เลือกให้ถูกกับอากาศก็ดีครับ น้ำมันขวดละไม่กี่ร้อย...ดูแลชุดขับราคาหลายหมื่นได้ คุ้มออก ส่วนจารบี เป็นสารหล่อลื่นเอนกประสงค์ที่ช่วยหล่อลื่นในส่วนต่างๆ รวมถึงพอกเคลือบกันน้ำและความชื้นเข้าไปในชิ้นส่วนต่างๆ เช่นปลายปลอกสายหรือน็อตและเกลียว(บางชิ้นห้ามใส่ อ่านคู่มือประกอบเพื่อความแม่นยำ เช่นน็ฮตยึดใบจาน FSA ห้ามใส่จารบี บางรุ่นระบุให้ใช้กันคลายเลย) จารบีสำหรับจักรยานเลือกเอาแบบที่ไม่ข้นหนืดมาก เนื้อนวลเนียน เช่นจารบีเอนกประสงค์ที่มีในห้างขายอุปกรณ์ดูแลบ้านหลอดละไม่กี่ร้อยใช้งานได้ไม่เลว ส่วนจารบี Shimano ใช้งานได้ดีเยี่ยม แต่ออกจะเปลืองหากจะเอาใช้งานทุกอย่างทุกจุด เพราะราคาไม่ใช่ถูกๆ
อันที่จริงมีอีกหลายอย่างที่อยากแนะนำให้มีติดบ้านเอาไว้ เช่นตัวถอดโซ่, บล็อคถอดเฟือง และที่ถอดกระโหลก เพราะท่านจะสามารถดูและรักษาจักรยานของท่านได้เอง ยืดอายุได้ยาวนานประหยัดเงินค่าล้างบำรุงไปได้ไม่น้อย คิดเล่นๆว่าล้างบำรุงครั้งละร่วมพันบาท ปีนึงๆล้าง 4-5 ครั้งก็ครึ่งหมื่นแล้วนะครับ หรือใครจะวัดใจไม่ล้างไม่บำรุง อย่าได้แม้แต่จะคิด เพราะผมเคยกระโหลกตายลูกปืนแห้งสนิมขึ้นแตกล็อคจนไม่หมุน ขาจานอัดกระโหลกจนเกลียวกระโหลกที่เฟรมเกือบพัง เสียดสีร้อนจนมีกลิ้นไหม้โชย
อากาศฝนตกชุก ความชื้นสูงแบบบ้านเรา ถามทฤษฏีแนะนำให้ล้างดูแลทุกอย่างทุกๆ 3 เดือน
1.ชุดไขควง
สำหรับจักรยานใช้ไขควงกับน็อตสกรูน้อยมาก หลักๆคือน็อตที่สับจานและตีนผี นอกนั้นก็เป็นชิ้นส่วนยิบย่อยต่างๆ แต่เนื่องจากไขควงเป็นเครื่องมือที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง มีติดบ้านเอาไว้ก็ไม่เสียหายใข้งานอื่นได้ด้วย ไขควงสำหรับจักรยานใช้เป็นปากแฉกขนาดเล็กเสียเป็นส่วนใหญ่ ปากแฉกหัวเบ้อเร่อไม่จำเป็นนะครับ ส่วนตัวผมคิดว่าพวกกล่องๆขายทั่วไปก็ใช้งานได้แล้ว เพราะน็อตบนจักรยานขันแรงตึงไม่มากเท่าไหร่ ถ้ามือไม่แย่จริงๆ ไม่ทำหัวน็อตบานแน่นอน
2.หกเหลี่ยม
หกเหลี่ยมหรือ Allen Key เป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับจักรยานก็ได้ ไม่เชื่อท่านลองไปดูจักรยานของท่าน แล้วนับดูจะเห็นได้ ว่านับกันง่ายๆ คร่าวๆ บนจักรยานมีน็อตหกเหลี่ยมร่วมๆ 30 ตัวเข้าไปแล้ว และแต่ละตัวขันในจุดที่สำคัญ ต้องการแรงตึงเช่นหลักอาน, ปลายเสต็ม หรือยึดตีนผี ดังนั้นขอสนับสนุนให้ลงทุนใช้หกเหลี่ยมคุณภาพดีที่สุดเท่าที่งบจะมีได้ และหากเป็นไปได้จริงๆ ถ้าลงทุนได้ ใช้ชุดประแจปอนด์พร้อมบล็อคหกเหลี่ยมเบอร์มาตรฐานไปเลยจะดีที่สุด เพราะน็อตเกือบทั้งหมดบนจักรยานระบุมาพร้อมแรงบิดที่เฉพาะ หากขันไม่แน่นพออาจเกิดอันตรายได้เช่นน็อตยึดแฮนด์ หรือถ้าแน่นเกินไปอาจทำให้ชิ้นส่วนเสียหายได้เช่นบรรดาคาร์บอนทั้งหลาย ถ้าท่านคิดจะปรับระยะฟิตติ้งจักรยานง่ายๆเอง หกเหลี่ยมถือเป็นสิ่งที่"ต้องมี"ขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด
3.ที่งัดยาง
ไม่ว่านักปั่นจะนิยมการปะยางหรือไม่ แต่บอกได้เลยว่าในชีวิตการปั่นจักรยานใครไม่เคยยางรั่วถือว่าเป็นบุคคลผู้เปิดมาพร้อมกับโชคบุญหนุนนำเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงการเปลี่ยนยางนอกขนาดต่างๆด้วยตัวเอง ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรเลย ใครคิดว่ายากและทำไม่เป็นลองคิดดูดีๆว่าร้านซ่อมจักรยานเล็กๆรับซ่อมจักรยานแม่บ้าน ปะรูละ 5 บาท 10 บาท สามารถงัดยาง ปะและใส่กลับได้คล่องมือ มันอาจต้องใช้เทคนิคบ้างนิดหน่อย แต่ไม่ยากไปกว่าการซื้อสมาร์ทโฟนมาสักเครื่องแล้วเริ่มต้นตั้งค่าการใช้งานตั้งแต่แรกแน่ ชุดงัดยางมักมาพร้อมกับชุดปะยางพกพา ซึ่งเจ้านี่ก็เป็นหนึ่งในรายการของที่ควรพกเอาไว้เวลาออกไปปั่นอยู่แล้ว ดังนั้นมีติดไว้ชุดเดียวก็ใช้ได้ทั้งที่บ้านและนอกสถานที่ ราคาก็หลักสิบบาทเท่านั้น... ไม่มีสาเหตุอะไรที่จะไม่มี
4.สูบ
สูบลมเป็นเครื่องมือดูแลรักษาจักรยานที่สำคัญที่สุดในบรรดาอุปกรณ์ทีควรมีทั้งหมดที่กล่าวมา ชิ้นส่วนหลวม เบี้ยว ผิดขนาด ยังพอขี่ได้ เกียร์ไม่ลง ชำรุดยังพอขี่ได้ แต่เช้าวันไหนตื่นมายางแบบฟีบไร้ลม แล้วจะไปปั่นถ้าไม่ฝากชีวิตไว้กับเพื่อนที่มีสูบ รับรองว่าอดปั่นแน่ สูบแบ่งเป็นทั้งสูบพกพาและสูบตั้งพื้นใช้งาน สูบพกพาสามารถพกติดตัวได้ ขนาดเล็ก แต่ข้อเสียหลักๆคือกินแรงเพราะต้องอัดลมกันหลายสิบ หรือหลักร้อยครั้งกว่าจะได้แรงดันที่ต้องการ สูบใหญ่อัดลมได้เบามือกว่า แถมอัดลมต่อครั้งได้ลมมากกว่า ใช้จำนวนครั้งในการสูบน้อยกว่ากันมาก เลือกสูบให้เหมาะกับจักรยานของแต่ละท่าน สูบสำหรับเสือหมอบควรมองหาสูบที่อัดแรงดันลมยางได้ไม่น้อยกว่า 100psi ขึ้นไป และ/หรือเลือกสูบที่ปรับหัวเปลี่ยนใช้งานได้ทั้งหัวจุ๊บสูบเสือหมอบและเสือภูเขาก็ได้ สำหรับเสือภูเขาหรือจักรยานทั่วไป สูบที่ขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปก็ตอบโจทย์การสูบได้ แม้แต่สูบมอเตอร์ก็ใช้งานได้ดี แต่เสือหมอบโดยเฉพาะสายซิ่งอัดลมกัน 140-160psi เลือกสูบดีๆจะดีกว่า และอย่าลืมเลือกสูบที่มีเกจบอกแรงดันนะครับ มือใหม่นิ้วยังไม่เทพ บีบๆเอาวันไหนมือหนักจะสูบจนเกินแรงดันลมยางที่ควรสูบได้
สูบราคาตั้งแต่ 500 บาทไปจนหลายพันบาท ใช้งานดีเด่นต่างกันในรายละเอียด แต่ถ้าถามว่า"ใช้งานได้" ผมว่าใช้ได้เหมือนกัน
5.น้ำมันหยอดโซ่และจารบี
ข้อนี้อาจไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นอุปกรณ์ดูแลรักษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญขาดไม่ได้ เพราะน้ำมันโซ่ที่หล่อลื่นให้โซ่วิ่งไปได้ ขดตัวได้ เสียดสีกับเฟืองได้และสึกหรอน้อยที่สุดไม่ได้มีอายุใช้งานชัวฟ้าดินสลาย ไหนจะสิ่งแวดล้อม ฝุ่น ดิน จากถนนที่สะสมอยู่บนโซ่และในข้อต่อโซ่จนเป็นคราบสีดำๆ ฟ้องว่าการหล่อลื่นได้ลดประสิทธิภาพลงไปแล้ว ดังนั้นต่อให้ไม่ได้ล้างโซ่จนหมดจด แต่นักปั่นที่รักจักรยานและชุดขับเคลื่อนราคาหลายหมื่น สามารถยืดอายุการใช้งานได้มากกว่าสองเท่าด้วยการดูแลง่ายๆเพียงเอาผ้าเช็ดรูดคราบให้โซ่สะอาด ล้างน้ำเปล่าหรือน้ำผงซักฟอกเจือจางแล้วเช็ดจนแห้ง จากนั้นหยอดน้ำมันกลับเข้าไป ทำบ่อยๆโซ่จะสึก(ยืด)ช้าลง วิ่งเงียบเสียงนุ่ม ส่วนจะเป็น้ำมันแบบไหน ราคาอย่างไร ตามแต่ทรัพย์และใจจะจัดหา บางคนชอบแบบน้ำมัน บางท่านชอบแบบแว็กซ์ แต่เลือกให้ถูกกับอากาศก็ดีครับ น้ำมันขวดละไม่กี่ร้อย...ดูแลชุดขับราคาหลายหมื่นได้ คุ้มออก ส่วนจารบี เป็นสารหล่อลื่นเอนกประสงค์ที่ช่วยหล่อลื่นในส่วนต่างๆ รวมถึงพอกเคลือบกันน้ำและความชื้นเข้าไปในชิ้นส่วนต่างๆ เช่นปลายปลอกสายหรือน็อตและเกลียว(บางชิ้นห้ามใส่ อ่านคู่มือประกอบเพื่อความแม่นยำ เช่นน็ฮตยึดใบจาน FSA ห้ามใส่จารบี บางรุ่นระบุให้ใช้กันคลายเลย) จารบีสำหรับจักรยานเลือกเอาแบบที่ไม่ข้นหนืดมาก เนื้อนวลเนียน เช่นจารบีเอนกประสงค์ที่มีในห้างขายอุปกรณ์ดูแลบ้านหลอดละไม่กี่ร้อยใช้งานได้ไม่เลว ส่วนจารบี Shimano ใช้งานได้ดีเยี่ยม แต่ออกจะเปลืองหากจะเอาใช้งานทุกอย่างทุกจุด เพราะราคาไม่ใช่ถูกๆ
อันที่จริงมีอีกหลายอย่างที่อยากแนะนำให้มีติดบ้านเอาไว้ เช่นตัวถอดโซ่, บล็อคถอดเฟือง และที่ถอดกระโหลก เพราะท่านจะสามารถดูและรักษาจักรยานของท่านได้เอง ยืดอายุได้ยาวนานประหยัดเงินค่าล้างบำรุงไปได้ไม่น้อย คิดเล่นๆว่าล้างบำรุงครั้งละร่วมพันบาท ปีนึงๆล้าง 4-5 ครั้งก็ครึ่งหมื่นแล้วนะครับ หรือใครจะวัดใจไม่ล้างไม่บำรุง อย่าได้แม้แต่จะคิด เพราะผมเคยกระโหลกตายลูกปืนแห้งสนิมขึ้นแตกล็อคจนไม่หมุน ขาจานอัดกระโหลกจนเกลียวกระโหลกที่เฟรมเกือบพัง เสียดสีร้อนจนมีกลิ้นไหม้โชย
อากาศฝนตกชุก ความชื้นสูงแบบบ้านเรา ถามทฤษฏีแนะนำให้ล้างดูแลทุกอย่างทุกๆ 3 เดือน
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558
PACE LINE ขี่กลุ่มอย่างไรให้ปลอดภัย
การขี่กลุ่มเป็นสิ่งที่สร้างการแข่งจักรยานให้มีสีสันแบบที่เป็นอยู่ หลักการง่ายๆก็คือการที่คนหน้าทำหน้าที่ฝ่าอากาศไปด้านหน้า และคนหลังอาศัยกระแสอากาศที่ม้วนวนอยู่หลังคนหน้าเกิดเป็นแรงฉุด ดึงให้คนหลังเดินทางไปข้างหน้าโดยออกแรงน้อยลง และจะยิ่งส่งผลมากขึ้นเรื่อยๆหากกลุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งการที่ประหยัดแรงนี้เองที่ทำให้เราเดินทางไปได้เร็วขึ้น ไกลขึ้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจสลับกันขึ้นมาทำหน้าที่นี้ และแน่นอนว่าเมื่อคนมาอยู่รวมกัน มันก็ต้องมีกฏ มีกติกามารยาทกันบ้าง ซึ่งไม่มีใครบันทึกเอาไว้หรอกครับ แต่เป็นคำภีร์ที่นักปั่นถ่ายทอดต่อๆกันมา เพื่อความปลอดภัยของพวกเรากันเอง
เอาล่่ะมาเข้าเนื้อหากัน
1.รู้จัก PACE LINE
การขี่กลุ่มแบบที่พวกเราเรียกกัน คือสิ่งที่นักปั่นสากลเรียกรวมๆกันว่า "Pace Line" ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่
-Single Pace Line หรือบางตำราเรียก singular line และยังรวมไปถึง double pace line อีกด้วย การขี่กลุ่มแบบนี้เป็นพื้นฐานแรกสุดของการขี่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เหมาะกับการเดินทางไปข้างหน้าเมื่อลมมีทิศทางมาจากทิศหน้าตรงเป็นหลัก คนนำจะทำหน้าที่"หัวลาก"พาเพื่อนๆไปด้วยกัน และสลับผลัดลงไปต่อท้ายกลุ่มให้คนต่อไปทำหน้าที่แทน *ไม่มีกฏตายตัวนะครับว่าจะต้องสลับออกทางด้านซ้ายหรือขวา โดยส่วนมากจะสลับออกทางด้านซ้าย ยกเว้นกรณีที่ลมมาเฉียงจากด้านขวา คนลากจะสลับลงทางด้านขวา เพื่อบังลมให้แถวของเพื่อนที่กำลังจะเปลี่ยนเข้ามา แต่สิ่งจำเป็นคือต้องรู้กัน สื่อสาร ให้สุ้มเสียงกัน และหากคุณเข้าร่วมกลุ่มสิ่งที่พึงปฏิบัติคือ "คำหน้าทำแบบไหน เราทำแบบนั้น" ...ส่วน double pace line หรือแถวคู่ คนนำจะออกแยกไปสองทางเสมอ
-Circular Pace Line หรือการขี่กลุ่มแบบวน คล้ายกับแบบแรกแต่ต่างกันตรงที่คนนำเมื่อผลัดลงไปพักให้คนที่สองขึ้นมาทำหน้าที่คนลาก จะต้องวนต่อๆกันไปตลอดไม่มีจังหวะที่จะไหลลงไปเดี่ยวๆเพื่อต่อท้าย ข้อดีของรูปแบบนี้คือทำความเร็วได้สูงกว่าแบบแรกเพราะไม่ได้อาศัยพลังจากคนหน้าคนเดียว ทุกๆคนจะออกแรงช่วยกันในระดับเท่าๆกัน ข้อควรระวังคือต้องฝึกฝนมาก่อนระดับหนึ่ง มีโอกาสที่จะพลาดเกี่ยวกันเองหากไม่รู้จักวิธีการ
วิธีการขี่ให้ปลอดภัยและนำไปฝึกฝนคือ ก่อนที่คนนำอยู่จะหลบพักออกมาต้องให้คนที่นำก่อนเราส่งเสียงบอกเราก่อนว่าแนวลล้อหน้าของเขาพ้นจากล้อหลังของเราแล้ว และคนหน้าหลบออกมาอย่ากวาดออกไปไกล ให้ออกมาเพียงหนึ่งช่วงคนพอดีๆ คนที่ตามมากำลังจะขึ้นนำแทน ไม่ต้องรีบเร่งขึ้นไปแทนที่ ค่อยๆขี่ไปให้เร็วเท่าเดิมรอฟังเสียงจากคนก่อนว่าแนวล้อพ้นแล้ว (ถ้าฝรั่งจะส่งเสียงว่า"เคลียร์") และคนสุดท้ายก็จะให้สัญญาณก่อนเข้าไปในแถวเพื่อบอกคนหน้าให้รู้ว่าเค้ากำลังจะเป็นคนสุดท้าย
ลองสังเกตุในกีฬาจักรยานดู กลุ่มที่หนีออกมานิยมจะขี่กันแบบนี้ เนื่องจากทุกคนต้องทำงานกันเต็มที่ ไม่สามารถหมกเม็ดได้ และทำความเร็วได้สูงกว่ามาก ทีมไหน หรือกลุ่มไหนที่ขี่ด้วยกันบ่อยๆ ลองฝึกหัดดู มันจะเป็นบันไดไปหาแบบที่ 3 ได้ง่ายขึ้น
การผัดเปลี่ยนว่าจะหมุนทวนหรือตามเข็มนาฬิกา อยู่ที่ตกลงกันและดูทิศทางลมเป็นหลัก โดยสากลจะให้คนพักลงทางที่ลมไม่ได้มา เช่นลมมาจากด้านขวามือ กลุ่มจะวนตามเข็มนาฬิกา แต่หากลมมาจากทางซ้ายมือ กลุ่มจะวนทวนเข็มนาฬิกา
-Echelon Cross Wind หรือการขี่กลุ่มแบบลมด้านข้าง
การขี่จะคล้ายกับแบบที่ 2 แต่กลุ่มจะเอียงไปด้านข้าง ซึ่งการขี่แบบนี้จัดว่าอันตรายที่สุด เพราะล้อหน้าและหลังจะเกยกันอยู่ หากเพิ่งเริ่มขี่แรกๆไม่ควรขี่ให้ชิดกันจนเกินไป และอย่าให้ล้อเกยกันจะดีที่สุด (ดูภาพประกอบ) ด้วยข้อขำกัดของขนาดถนนและเส้นทาง การขี่แบบนี้อาจไม่เหมาะสำหรับการออกทริปหรือการแข่งรายการทั่วไปที่ไม่ได้ปิดภนน แม้แต่โปรเองก็อาศัยการขี่แบบนี้เพื่อบีบพื้นที่และทำเกมส์หนีจากคู่ต่อสู้ในสถานการณ์ที่ลมด้านข้างมาแรงๆ กลายเป็นกลยุทธที่สำคัญ
กติกามารยาทที่พึงทำเมื่อพบกับการขี่แบบนี้ ทางที่ดียอมใจดำแล้วต่อท้ายดูจังหวะไปก่อน จนมั่นใจในตัวเองว่าสิ่งที่เคยฝึกฝนมาสามารถร่วมได้แล้วค่อยเข้าไปร่วมวนในกลุ่ม มิเช่นนั้น ..เกาะตามไปเฉยๆสบายและปลอดภัยกว่า
2.รักษาระยะห่างให้พอเหมาะ
มีคำถามว่าระยะห่างแต่ละคันควรเป็นเท่าไหร่ บางท่านไปดูโปรขี่กันมาห่างกันแค่ 5 นิ้วก็มี แล้วพยายามจะขี่ให้ได้แบบโปร เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็ควบคุมไม่ได้และเกี่ยวกันในที่สุด ระยะห่างที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องรักษาระยะนั้นเอาไว้ให้คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น การเร่งกระชาก หรือการใช้เบรคจึงเป็นสิ่งต้องห้ามของการร่วมขี่กลุ่ม เราต้องเดินทางไหด้วยความเร็วที่คงที่มากที่สุด หากข้างหน้าเร่งความเร็ว ระยะห่างเริ่มมากขึ้น เราควรค่อยๆเพิ่มความเร็วและค่อยๆลดช่องว่างลง (ในสถานการณ์การแข่งควรมีคนทำหน้าที่"เชื่อม") หากข้างหน้าชลอลง เราควรชลอแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่กดเบรค หรือปล่อยไหลฟรีขาไปแล้วเกยบานออกข้างๆ ซึ่งอาการบานนี่เองที่ทำให้เกิดสภาพ "ล้อเกย" หรือเมื่อล้อหลังคันหน้าเกยซ้อนล้อหน้าคันหลัง
ล้อเกย คือสาเหตุหลักๆของอุบัติเหตุในการขี่กลุ่มเลยทีเดียว เพราะเมื่อนำเนื้อหาการขี่กลุ่มร่วมกับเนื้อหาเรื่องการขี่ให้นิ่ง จะพบว่า หากนักปั่นละเลยจนเกิดสภาพล้อเกย ร่วมกับคนหน้าปั่นแบบไม่นิ่งสา่ยไปมา หรือนึกจะออกก็ออก เมื่อนั้นก็จะเกี่ยวกันจนล้ม และคนที่ซวยคือเพื่อนๆที่ตามมาอีกเป็นฝูง
นอกจากนั้นการที่ขี่แล้วไม่รักษาระยะให้เหมาะสมก็เป็นอันตรายอย่างมากในหลายสถานการณ์ เช่นถนนแคบ ลงเขา ทางขรุขระ เส้นทางเหล่านี้ นักปั่นควรเพิ่มระยะห่างจากคนหน้าให้มากขึ้น เพื่อชดเชยความผิดพลาดที่อาจเปิดขึ้นได้ แทนที่จะระวังกลัวตนเองจะหลุดกลุ่มก็จี้ติดเอาไว้ และเมื่อมีปัญหาผิดพลาด ก็แก้ไขไม่ทันและเป็นเหตุของอุบัติเหตุได้ในลำดับต่อมา
3.อย่าขี่คนเดียว
หลายๆท่านเวลาขี่กลุ่มท่านกำลังเข้าสู่โหมดข่คนเดียว อยู่กับล้อคันหน้า อยู่กับล้อคนหน้า แม้ว่าท่านจะนิ่ง และรักษาระยะดีอย่างไร ท่านกำลังสร้างความเสีี่ย่งให้กับเพื่อนๆ นักปั่นที่มากประสพการณ์และฉลาด จะมองผ่านไปที่หัวแถวและเส้นทางเสมอ เมื่อหัวแถวเร่งหรือชลอ ท่านสามารถประหยัดแรงได้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่นเมื่อหัวแถวเร่งความเร็วสูงจนกลุ่มยืดออก ท่านอาจไม่จำเป็นต้องรีบเร่งตามเมื่อท่านมองไปข้างหน้าพบว่าทางแคบลง หรือกำลังจะเลี้ยว เพราะกลุ่มจะหดลงจนเข้าไปรวมกันเองโดยที่ท่านไม่ต้องเสียแรงเร่งเข้าไป แน่นอนว่าหากท่านก้มหน้าก้มตาปั่นกับล้อหลังของคนหน้า ท่านไม่มีทางรู้และเตรียมตัวรับสถานการณ์ข้างหน้าได้เลย
การเงยหน้ามองไปยังเบื้องหน้ายังข่วยอะไรท่านได้อีกหลายต่อหลายอย่าง ท่านสามารถมองเห็นเพื่อนนักปั่น มองเห็นเส้นทาง อุปสรรค สภาพถนน สิ่งกีดขวาง ซึ่งสำคัญมากกว่าความเร็วบนไมล์ที่กำลังวิ่งอยู่ ฝึกหัดที่จะขี่รักษาระยะโดยที่มองไปที่ไหล่หรือตัวของเพื่อนนักปั่นคนหน้าแทนที่จะจ้องไปที่ล้อหลังแต่เพียงอย่างเดียว
รวมไปถึงอย่าลืมนะครับว่าท่านมีเพื่อนร่วมทางอยู่รอบๆท่าน อย่าทำอะไรให้คนอื่นเดือดร้อนเช่นสั่งน้ำมูก เทน้ำ ราดน้ำ ทิ้งขยะ แม้แต่ฟรีขาปล่อยวางโบกมือลาจากกลุ่ม อย่าลืมบอกคนหลังท่านว่าท่านกำลังทำอะไรอยู่ (มันคือการ"สื่อสาร"กันครับ)
เอาล่ะ... 3 กฏ กติกา มารยาทพื้นฐานนี้ จำให้ขึ้นใจ ก่อนจะปิดท้ายบทความด้วย
Tips and Tricks สำหรับการขี่กลุ่ม
-ฝึกฝนจากเพื่อนๆขนาดเล็ก เริ่มหัดจาก 2-3 คน และค่อยๆขยายมากขึ้นก่อนจะเข้ากลุ่มใหญ่ ก็เฉกเช่นเดียวกับก่อนที่จะมาปั่นร่วมกันกับเพื่อนก็ควรขี่ให้นิ่งเสียก่อน หลายคนกล่าวว่าหากคุณไม่สามารถขี่กับเพื่อนคุณ 4-5 คนอย่างราบลื่นแล้ว อย่าได้ริคิดเข้ากลุ่มใหญ่ๆ เพราะจะอันตรายเป็นอย่างยิ่ง -ไม่มั่นใจ ให้อยู๋ท้ายๆ ...อย่ากลัวที่จะโดนหาว่าเป็นปลิงมาเกาะ เพราะหากคุณขึ้นไปแล้วก่อให้เกิดอันตรายจะยิ่งเป็นปัญหาหนักกว่าเก่า หากไม่มั่นใจในทักษะการคุมรถ ไม่มั่นใจในความนิ่ง ไม่มั่นใจในแรงของตน ...อยู่ท้ายของกลุ่มไปเสียตลอดทาง เมื่อคนนำลงมาพักสลับเปลี่ยนก็เปิดช่องด้านหน้าเราให้เขาเข้าแทน หากมีคนหลังจะแซงขึ้นมาก็เปิดช่องให้เขาแซงออกหรือมาแทนที่ได้แต่โดยดี ผมขอแปลง่ายๆว่า"เจียมตัว" ครับ
ปัญหาที่อันตรายมันมาจากที่นักปั่นพมาแต่ใจที่สู้แต่ทั้งทักษะและร่างกายไม่พร้อม
-ความเร็วไม่ใช่สาระสำคัญ ... ระหว่างคุณไปถึงเร็วสนุกสะใจ กับคุณไปไม่ถึงเพราะล้มเสียก่อน ผมว่าใครๆก็คงเลือกได้ทั้งสิ้นว่าจะเอาทางไหน และการจะเร็วได้สนุกมันต้องผ่านการฝึกฝนทั้งร่างกายและทักษะมาแล้ว มิเช่นนั้น ยอมรับและไปถึงช้าหน้่อยแต่ถึงชัวร์จะดีกว่า หรือให้คิดเสมอว่า หลุดกลุ่มนี้ยังมีกลุ่มอื่น ขอให้ปั่นดีเถอะครับ มีคนอ้าแขนต้อนรับแน่นอน ดีกว่าขาแรงแต่ปั่นแย่ๆ ใครๆก็ไม่อยากให้ร่วมแม้จะขาแกร่งปากเก่งขนาดไหน
-สุดท้ายที่สำคัญที่สุดกับการฝึกฝน ทั้งความปลอดภัยและพัฒนา .... ฝึกกับคนที่เก่งใกล้กับเรา ...ตรงนี้จะตรงข้ามกับคำแนะนำว่าอยากเก่งให้ขี่กับคนเก่งกว่านะครับ เพราะการขี่กลุ่มเป็นทักษะที่สำคัญ พยายามหาเพื่อนที่แข็งแรงพอๆกัน ทักษะพอๆกัน ค่อยๆพัฒนาไปด้วยกัน อย่าพยายามฝืนฝึกขี่กลุ่มไปกับกลุ่มขาแรงที่ลากจนคุณไส้แทบแตกแล้วแค่เอาตัวรอดก็หายใจทางเหงือกแล้ว ...หาเวลาฝึกฝนพัฒนาทักษะเหล่านี้เสียก่อนที่จะไส้แตก เพราะตอนนั้นคุณไม่มีเวลามาเรียนรู้อะไรหรอกครับ
ลองนำไปคิด ใส่ใจ และอย่าลืมฝึกฝนกันให้ดี เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง และเหนือสิ่งอื่นใดคือความปลอดภัยของเพื่อนนักปั่น อุบัติเหตุจักรยานร้อยละร้อย คนก่อ คนทำไม่ได้เจ็บมากหรือเสียหาย แต่คนที่เจ็บหนักหรือเสียหายมากคือคนที่ตามมาแบบดวงลากมาล้ม ....อย่านำความสุข ความสนุก และสะใจของตนเอง มาก่อให้เกิดความเสี่ยงกับผู้อื่นเลย ขอแก้ไขบทความเพิ่มเติมครับ ตกหล่นไปได้อย่างไร...
การสื่อสารพื้นฐานในกลุ่ม ผมไม่อยากเรียกว่าเป็นสัญญาณมือครับ แต่อยากให้รับรู้เอาไว้ในส่วนที่เป็นสากลของนักปั่นจักรยานจริงๆ ไม่เหมือนกับสัญญาณมือจรจรของจักรยานครับ สัญญาณมือพื้นฐานพวกนี้อาจต่างกันในแต่ละที่แต่โดยมากนักแข่งอาชีพที่เห็นจะใช้แบบนี้ตรงกันนะครับ
1.การขยับศอก หมายถึงต้องการจะลงพักให้คนต่อไปขึ้นมาทำหน้าที่นำกลุ่ม ตามหลักการจริงๆคือขยับด้านไหนลงด้านนั้นแต่จากที่ไปนั่งไล่ดูโปรแข่งมา ... พบว่าครึ่งๆของภาพที่เห็นจะไม่ได้ตามหลักนี้ครับ ดังนั้นผมจึงขอเสนอว่า แค่รู้กันว่าขยับคือจะลงก็พอครับ ...ทำไมต้องขยับศอก?? ในเมื่อส่วนมากเราจะชินการยกมือโบกกันมากกว่า (ที่ญี่ปุ่นใช้การโบกมือมากกว่าขยับศอกเช่นกัน) เพราะการขยับศอกเราไม่ต้องเอามือออกจากแฮนด์ครับ ที่สำคัญ คนหลังสามารถเห็นได้ง่ายชัดเจน ไม่สับสนกับการสลัดมือคลายเมื่อย หรือการชี้อะไรบนพื้นครับ
2.การเอามือกำไว้ด้านหลัง 1 ข้าง มักจะเป็นข้างซ้ายนะครับ แปลว่ากำลังลดความเร็วลง คนหน้าจะทำสัญญาณนี้เพื่อบอกให้กลุ่มรู็ว่าเค้าลดความเร็วลง แต่ไม่ได้ต้องการเปลี่ยนลงไปพักไม่ต้องแซงขึ้นมา ที่ว่ามักจะเป็นมือซ้ายเพราะ มือขวาจะได้คุมเบรคหลังอยู่ หากเอามือขวากำเหลือมือซ้ายจับเบรคหน้า อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันกำเบรคหน้าแล้วตีลังกาได้ สัญญาณมืออื่นๆ แม้จะมีความเป็นสากลในหมู่นักจักรยานแต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่แตกต่างกัน ผมจึงขอไม่นำเสนอ เดี๋ยวจะกลายเป็นแบบแผนที่ต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำที่ดีที่สุดคือให้เรียนรู้การสื่อสารกับกลุ่มที่เราอยู่ ใช้ทั้งเสียงและการส่งสัญญาณเข้าด้วยกัน ส่งสัญญาณที่สั้น ชัดเจน เสียงที่ดังและกระชับ
การขี่จักรยานในอากาศร้อน
ก่อนอื่นลองมาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่าอากาศที่ร้อนขึ้นส่งผลอะไรกับร่างกายของเราบ้าง ...ปกติแล้วเวลาเราออกกำลังกายร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยธรรมชาติ และร่างกายจะระบายของเสียากระบบการสังเคราะห์พลังงานออกมาเป็นของเหลวทางผิวหนัง ซึ่งเป็นการลดอุณหภูมิของร่างกายด้วย ก็คือ"เหงื่อ"นั่นเอง แต่ปกตินักปั่นจะไม่ค่อยรู็สึกว่ามีเหงื่อออกสักเท่าไหร่ เนื่องจากสายลมที่พัดจะทำให้เหงื่อแห้งไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าอากาศจะเย็นสักเท่าไหร่ อากาศในประเทศไทยนี้เราเสียเหงื่อออกมาไม่น้อยในการปั่นจักรยาน ประเทศตะวันตกที่อากาศเย็นๆสบายๆ แนะนำให้ดื่มน้ำ 500 มิลลิลิตรต่อการปั่นจักรยาน 1 ชม. และแนะนำว่าในอากาศที่ร้อนกว่าปกติให้ดื่มน้ำ 700-1000 มิลลิลิตรต่อการปั่นจักรยาน 1 ชม. เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป รวมถึงการเติมพลังงานและเกลือแร่อีกด้วย ซึ่งเกลือแร่ที่เติมเข้าไปจะต้องสมดุลย์กับเกลือแร่และแร่ธาตุต่างๆที่เสียออกไปพร้อมกับเหงื่อ ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้เป็นตัวช่วยในกลไกการสร้างพลังงานของเรานั่นเอง
อุณหภูมิสูงยังส่งผลเชื่อมโยงกับระดับชีพจรที่สูงมากกว่าปกติ กล่าวคือถึงแม้จะออกแรงในระดับเดียวกัน แต่ในอากาศที่ร้อนอบอ้าว จะมีชีพจรสูงกว่าเมื่ออากาศเย็นสบาย หรือแปลง่ายๆว่า อากาศยิ่งร้อน เรายิ่งรู้สึกเหนื่อยได้ง่ายกว่าอากาศเย็น ...และส่งผลกับความหนักที่เราสามารถออกแรงได้ ดังนั้นภายใต้อากาศที่ร้อนมากๆ นักปั่นที่"ใจสู้"เกินขีดจำกัดเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือแม้แต่หัวใจวายเฉียบพลันได้ง่ายกว่า หากยึดแต่ความเร็วหรือแรงที่ออกแต่เพียงอย่างเดียว ละเลยการฟังร่างกายตนเอง
ร่างกายคนเราจะพยายามทำทุกทางเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิที่คงที่เอาไว้ให้ได้ ซึ่งในกระบวนการต่างๆอาศัยพลังงานเพื่อหล่อเลี้ยงระบบทั้งสิ้น และนั่นคือเหตุผลที่ทำไมอากาศที่ร้อนขึ้นมากๆทำให้เรารู้สึก"หมด"เร็วกว่าปกติ ลองคิดง่ายๆดังนี้นะครับ ...จักรยานที่เราปั่นส่งแรงถีบไปเป็นการเคลื่อนที่ได้มากมาย มีเพียง 1% ที่สูญเสียไปจากระบบ แต่่ร่างกายเราออกแรงปั่นจักรยานไปข้างหน้าแต่เราต้องสูญเสียพลังงาน 75% ไปเพื่อรักษาระบบต่างๆให้ทำงานอย่างมีประสิทธภาพในวันที่อากาศร้อนมากๆ ยิ่งออกแรงมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ยิ่งร้อนขึ้น และยิ่งใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่
เมื่อร่างกายของเราทำงานอย่างหนักบนจักรยานจนเกิดความร้อนสูงกว่าบรรยากาศโดยรอบ กล้ามเนื้อทำงานและเกิดความร้อนมหาศาล ระบบหมุนเวียนโลหิตจะพาเอาความร้อนออกมาจากกล้ามเนื้อ จนอุณหภูมิของเลือดในร่างกายสูงขึ้น หลอดเลือดจะขยายตัวและขยายพื้นที่ผิวในการระบายความร้อนออกไปมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณใกล้ผิวหนัง ทว่าวิธีนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่ออากาศรอบๆตัวเย็นกว่าอุณหภูมิร่างกาย หากอากาศรอบๆร้อนกว่าอุณหภูมิร่างกาย ร่างกายจะใช้ระบบการระบายความร้อนแบบที่สอง ซึ่งก็คือระบบการระบายความร้อนออกมาทางเหงื่ออย่างที่ได้อธิบายไปแล้ว นอกจากน้ำและแร่ธาตุที่ออกมาจากผิวหนัง เหงื่อจะเป็นตัวพาความร้อนออกมาจากร่างกาย เมื่อระเหยออกไปก็เท่ากับลำเลียงความร้อนออกไปด้วย ยิ่งมีลมพัดก็จะยิ่งช่วยระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทางกลับกันเมื่ออากาศมีความชื้นมากๆ หรือสภาพอากาศอบอ้าว เหงื่อจะระเหยได้ช้าลลงและแปลว่าความร้อนถูกระบายออกไปช้าลงอีกด้วย
เมื่ออากาศร้อนขึ้น เมื่อเราออกแรงมากขึ้น ร่างกายก็ยิ่งร้อนขึ้น เมื่อร่างกายร้อนขึ้นก็ต้องระบายความร้อนออกมาทางเหงื่อ เมื่อเสียเหงื่อก็เท่ากับการเสียของเหลวในร่างกาย และเมื่อร่างกายสูญเสียของเหลวไปเพียง 2% ของน้ำหนักตัวก็จะเข้าสู่สภาวะดีไฮเดรชั่นหรือขาดน้ำ และส่งผลให้สมรรถนะของร่ายกายลดลงอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นเคล็ดลับและข้อควรกระทำเมื่อต้องขี่จักรยานในวันที่อากาศร้อนได้แก่
-ดื่มน้ำ
การดื่มน้ำไม่ได้ช่วยลดอุณหภูมิโดยตรงและช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและสามารถรักษาอุณหภูมิเอาไว้ได้ หากร่างกายไม่สามารถรักษาอุณหภูมิไว้ได้ จนร้อนเกินไปจะเกิดสภาวะ"ฮีทสโตรค" ซึ่งสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ต้องดื่มมากแค่ไหน?? ...เป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัยทว่าคงไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ขึ้นอยู๋กับร่างกายของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และขึ้นอยู่กับความหนักของการออกกำลัง ทว่าสิ่งที่สามารถระบุได้คือ ต้องดื่มน้ำอย่างต่อเนื่องครั้งละนิด อย่ารอจนร่างกายรู้สึกกระหายน้ำแล้วจึงดื่ม เพราะเมื่อร่างกายกระหายน้ำแปลว่าร่างกายต้องการน้ำแล้ว และร่างกายเรามักจะตอบสนองส่งข้อมูลนี้มาช้ากว่าที่ร่างกายต้องการจริงๆอยู่สักพักหนึ่ง แปลว่าหากท่านรู้สึกกระหายน้ำเมื่อไหร่ก็เท่ากับร่างกายของท่านได้ขาดน้ำไปแล้วสักพักก่อนหน้านั้น ยิ่งท่านปั่นหนักมากๆ ร่างกายอาจเสียน้ำไปแล้ว 1-2% ของน้ำหนักตัวก่อนที่จะรู้สึกกระหายน้ำเสียอีก
แต่การดื่มน้ำมากเกินไปอาจก่อให้เกิดสภาวะมีของเหลวมากเกินไปส่งผลกับสมดุลย์ของแร่ธาติในร่างกายขณะออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลถึงชีวิตได้เช่นกัน แม้ว่าอาการนี้จะพบได้ยากมากในการปั่นจักรยานในประเทศเขตุร้อนอย่างบ้านเรา พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำครั้งละมากๆในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเมื่อท่านเหนื่อยมากๆ กระหายมากๆ แล้วยกน้ำขวดลิตรอัดเข้าไปทีเดียวหมดขวด นอกจากจะจุกยังเป็นการเสี่ยงต่ออาการนี้ พอจะสรุปได้ง่ายๆว่า หากดื่มน้ำ 700-1000 มิลลิลิตรได้ทีละนิดๆในเวลา 1 ชม. ก็ถือว่าปลอดภัยอย่างแน่นอน
ลองหารน้ำ 700 มล. ด้วยปริมาณน้ำต่ออึกที่ดื่มก็จะพบว่า ทุกๆ 10 นาทีให้ดื่มน้ำหนึ่งอึกใหญ่ๆ หรือดื่มอึกเล็กๆ(จิบ)ทุกๆ 5-7 นาที เมื่อครบ 1 ชม. ก็จะได้น้ำครบปริมาณที่ต้องการได้อย่างไม่ยาก
-แต่งตัวให้เหมาะ
จริงๆแล้วการแก้ผ้าจนหมดทำให้ร่างกายเผิดเผยและแลกเปลี่ยนอุณหภูมิได้ดีที่สุด ระบายเหงื่อได้จากทุกอณูของผิวหนัง แต่นอกจากเหตุผลความอุจาดตาของเพื่อนนักปั่นยังมีปัญหาเรื่องการโดนแดดเผา เพราะอากาศที่ร้อนมากๆก็มาพร้อมกับแสงแดดแรงกล้าด้วย พยายามเลือกชุดปั่นจักรยานที่ปกปิดร่างกาย ป้องกันแสงแดดได้ดี แต่ระบายอากาศได้เยี่ยมด้วย เช่นเสื้อปั่นจักรานที่มีเนื้อผ้าบาง เบา ลมผ่านเข้าได้่ง่าย หรือแม้แต่เสื้อซับด้านในที่ออกแบบมาสำหรับอากาศร้อนก็จะช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้เร็วขึ้นแม้ว่าจะใส่เสื้ออยู่ถึง 2 ฃั้น โดยเฉพาะเมื่อขี่ช้าลง หรือปั่นขึ้นเขาที่กระแสลมผ่านจะผ่านไปช้าๆเบาๆ ส่งผลให้เหงื่อระเหยออกไปช้าลง ควรเลือกเสื้อจักรยานที่สามารถรูดซิปลงมาได้กว้าง เพิ่มพื้นผิวสัมผัสอากาศมากขึ้น สำหรับนักปั่นหญิงแนะนำให้เลือกเสื้อชั้นในแบบกีฬาที่มีลักษณะคล้ายเสื้อสายเดี่ยวปิดมิดชิด แทนที่จะเป็นชั้นในลูกไม้สวยดันทรงอกบึ้ม เพราะเมื่ออากาศร้อนมากๆสามารถรูดซิปลงมาได้โดยที่ไม่ไปรบกวนสมาธิของนักปั่นชายที่อยู่ใกล้ๆ
ความฟิตของเสื้อปั่นจักรยานก็ส่งผลกับการระบายอากาศเช่นกัน เสื้อปั่นที่แนบเนื้อพอดีตัว จะช่วยให้เหงื่อถูกซึมซับมาอยู่บนเนื้อผ้าและถูกระบายออกไปได้เร็วกว่าเสื้อปั่นหลวมๆที่ระหว่างผิวหนังกับเนื้อผ้าจะมีช่องว่างอับลม และช่องว่างนั้นจะกลายเป็นชั้นฉนวนเก็บความร้อนแทน ทว่าเนื้อผ้าก็มีส่วนสำคัญกับทั้งเสื้อแนบเนื้อหรือแบบหลวมสบายเช่นกัน ผ้าบางชนิดแม้จะพอดีตัวแต่ด้วยคุณลักษณะที่ระบายความชื้นได้ช้า ก็ขะกลายเป็นตัวเก็บความร้อนเอาไว้แทนที่จะช่วยระบายออกไป
-ราดน้ำ
นึกถึงรถยนต์ที่เครื่องย้นต์ต้องระบายความร้อนด้วยระบบของเหลวช่วยนอกเหนือจากอากาศที่ไหลผ่าน ร่างกายของเราก็เช่นกัน โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคมที่อากาศอาจร้อนได้ถึง 42 องศา แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ร่างกายจะระบายความร้อนได้ทันเพียงด้วยเหงื่อและลมที่ผ่านตัวไป น้ำจากกระบอกน้ำหรือขวดน้ำที่ราดอยู่บนตัวจนชุ่มช่วยลดอุณหภูมิแทนเหงื่อและลดอัตราการเสียน้ำได้มาก อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการราดคือน้ำเย็นนิดหน่อย (25-30 องศา) อย่าใช้น้ำเย็นเจี๊ยบน้ำแข็งเกาะมาราดตัว เพราะอาจช็อคจากสภาพการเปลี่ยนอุณหภูมิฉับพลันได้อีกเช่นกัน ในการแข่งขันจักรยานอาชีพบางรายการที่ต้องแข่งในพื้นที่อากาศร้อนมากๆเช่น Vuelta A'Espana บนภูเขาสูงที่ร้อนอบอ้าว นักปั่นจะตัวเปียกตลอดเวลา เหมือนกับปั่นไปอาบน้ำไป เพื่อให้ร่างกายเย็นและทำงานได้ดีที่สุด
ลองคำนวนดูทั้งน้ำที่ต้องดื่ม และน้ำที่ต้องราดตัว แปลว่าในฤดูร้อนที่อากาศร้อนมากๆ นักปั่นทุกคนต้องการน้ำมากกว่า 1 ขวด การพยายาม"ฝืนทน"ปั่นโดยที่ใช้ความอึดเป็นปัจจัยไม่ใช่การออกกำลังกายที่ดี แต่เป็นการทรมานร่างกาย จากที่หวังจะได้สุขภาพอาจส่งผลในทางตรงกันข้ามแทน ดังนั้นอย่าลังเลที่จะติดกระบอกน้ำ 2 กระบอก และเลือกใช้กระบอกขนาดใหญ่สำหรับวันที่ต้องเดินทางระยะไกลๆภายใต้อากาศร้อน หรือวางแผนเส้นทางให้ผ่านร้านค้าที่สามารถเติมน้ำได้เป็นระยะๆ บางครั้งการ"มีเหลือดีกว่าขาด" ก็เป็นการวางแผนที่ดี ลองเสียบขวดน้ำสำรองเอาไว้ในกระเป๋าหลังก็ช่วยได้ไม่ยาก
-เกลือแร่
เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อร่างกายชาดเกลือแร่และแร่ธาติที่สมดุลย์ การทำงานของระบบพลังงานก็จะทำได้ไม่เต็มที่จนถึงขั้นล้มเหลว และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดตะคริว ดังนั้นเลือกเรื่องดื่มเกลือแร่ที่ชดเชยการเสียเหงื่อจากการเล่นกีฬา โดยจิบทีละนิด ในปริมาณเจือจาง ช่วยชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายเสียออกไปได้มาก ซึ่งในเหงื่อของเราประกอบด้วยแร่ธาติต่างๆมากมาย การค่อยๆจิบเกลือแร่ไปเรื่อยๆควบคู่กับน้ำดื่ม ได้ผลดีกว่าการดื่มรวดเดียวหนึ่งขวดหลังการปั่นจักรยานมากๆ อย่างไรก็ดี พบว่าหากการปั่นจักรยานไม่ยาวกว่า 1 ชม. ร่างกายจะไม่เสียแร่ธาติมากจนต้องเติมกลับเข้าไปด้วยเครื่องดื่ม แต่สามารถใช้อาหาร ผัก ผลไม้ แทนได้ แม้จะย่อยช้ากว่าแต่ดีต่อสุขภาพมากกว่า หากการปั่นยาวนานต่อเนื่องกว่า 1 ชม. อาจชดเชยเกลือแร่ยี่ห้อยอดนิยมโดยทั่วไปครึ่งขวดต่อระยะเวลา 1 ชม. ...มาถึงจุดนี้ก็จะพบว่านอกจากน้ำดื่ม น้ำราดตัว ยังต้องเตรียมเกลือแร่ติดรถไปอีก นักแข่งจึงนิยมที่จะพกน้ำสองกระบอก กระบอกหนึ่งเป็นเกลือแร่ผสมพลังงาน อีกกระบอกเป็นน้ำดื่มธรรมดา และคอยเติมน้ำดื่มเรื่อยๆ เพราะสามารถหาน้ำดื่มได้งา่ยกว่า สำหรับนักปั่นที่ไม่ได้เน้นการแข่งขัน ทางออกที่ดีที่สุดคือการวางแผนเส้นทางและจุดพักให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการปั่น สามารถหยุดเติมเสบียงได้เรื่อยๆ
อุณหภูมิสูงยังส่งผลเชื่อมโยงกับระดับชีพจรที่สูงมากกว่าปกติ กล่าวคือถึงแม้จะออกแรงในระดับเดียวกัน แต่ในอากาศที่ร้อนอบอ้าว จะมีชีพจรสูงกว่าเมื่ออากาศเย็นสบาย หรือแปลง่ายๆว่า อากาศยิ่งร้อน เรายิ่งรู้สึกเหนื่อยได้ง่ายกว่าอากาศเย็น ...และส่งผลกับความหนักที่เราสามารถออกแรงได้ ดังนั้นภายใต้อากาศที่ร้อนมากๆ นักปั่นที่"ใจสู้"เกินขีดจำกัดเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือแม้แต่หัวใจวายเฉียบพลันได้ง่ายกว่า หากยึดแต่ความเร็วหรือแรงที่ออกแต่เพียงอย่างเดียว ละเลยการฟังร่างกายตนเอง
ร่างกายคนเราจะพยายามทำทุกทางเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิที่คงที่เอาไว้ให้ได้ ซึ่งในกระบวนการต่างๆอาศัยพลังงานเพื่อหล่อเลี้ยงระบบทั้งสิ้น และนั่นคือเหตุผลที่ทำไมอากาศที่ร้อนขึ้นมากๆทำให้เรารู้สึก"หมด"เร็วกว่าปกติ ลองคิดง่ายๆดังนี้นะครับ ...จักรยานที่เราปั่นส่งแรงถีบไปเป็นการเคลื่อนที่ได้มากมาย มีเพียง 1% ที่สูญเสียไปจากระบบ แต่่ร่างกายเราออกแรงปั่นจักรยานไปข้างหน้าแต่เราต้องสูญเสียพลังงาน 75% ไปเพื่อรักษาระบบต่างๆให้ทำงานอย่างมีประสิทธภาพในวันที่อากาศร้อนมากๆ ยิ่งออกแรงมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ยิ่งร้อนขึ้น และยิ่งใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่
เมื่อร่างกายของเราทำงานอย่างหนักบนจักรยานจนเกิดความร้อนสูงกว่าบรรยากาศโดยรอบ กล้ามเนื้อทำงานและเกิดความร้อนมหาศาล ระบบหมุนเวียนโลหิตจะพาเอาความร้อนออกมาจากกล้ามเนื้อ จนอุณหภูมิของเลือดในร่างกายสูงขึ้น หลอดเลือดจะขยายตัวและขยายพื้นที่ผิวในการระบายความร้อนออกไปมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณใกล้ผิวหนัง ทว่าวิธีนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่ออากาศรอบๆตัวเย็นกว่าอุณหภูมิร่างกาย หากอากาศรอบๆร้อนกว่าอุณหภูมิร่างกาย ร่างกายจะใช้ระบบการระบายความร้อนแบบที่สอง ซึ่งก็คือระบบการระบายความร้อนออกมาทางเหงื่ออย่างที่ได้อธิบายไปแล้ว นอกจากน้ำและแร่ธาตุที่ออกมาจากผิวหนัง เหงื่อจะเป็นตัวพาความร้อนออกมาจากร่างกาย เมื่อระเหยออกไปก็เท่ากับลำเลียงความร้อนออกไปด้วย ยิ่งมีลมพัดก็จะยิ่งช่วยระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทางกลับกันเมื่ออากาศมีความชื้นมากๆ หรือสภาพอากาศอบอ้าว เหงื่อจะระเหยได้ช้าลลงและแปลว่าความร้อนถูกระบายออกไปช้าลงอีกด้วย
เมื่ออากาศร้อนขึ้น เมื่อเราออกแรงมากขึ้น ร่างกายก็ยิ่งร้อนขึ้น เมื่อร่างกายร้อนขึ้นก็ต้องระบายความร้อนออกมาทางเหงื่อ เมื่อเสียเหงื่อก็เท่ากับการเสียของเหลวในร่างกาย และเมื่อร่างกายสูญเสียของเหลวไปเพียง 2% ของน้ำหนักตัวก็จะเข้าสู่สภาวะดีไฮเดรชั่นหรือขาดน้ำ และส่งผลให้สมรรถนะของร่ายกายลดลงอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นเคล็ดลับและข้อควรกระทำเมื่อต้องขี่จักรยานในวันที่อากาศร้อนได้แก่
-ดื่มน้ำ
การดื่มน้ำไม่ได้ช่วยลดอุณหภูมิโดยตรงและช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและสามารถรักษาอุณหภูมิเอาไว้ได้ หากร่างกายไม่สามารถรักษาอุณหภูมิไว้ได้ จนร้อนเกินไปจะเกิดสภาวะ"ฮีทสโตรค" ซึ่งสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ต้องดื่มมากแค่ไหน?? ...เป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัยทว่าคงไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ขึ้นอยู๋กับร่างกายของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และขึ้นอยู่กับความหนักของการออกกำลัง ทว่าสิ่งที่สามารถระบุได้คือ ต้องดื่มน้ำอย่างต่อเนื่องครั้งละนิด อย่ารอจนร่างกายรู้สึกกระหายน้ำแล้วจึงดื่ม เพราะเมื่อร่างกายกระหายน้ำแปลว่าร่างกายต้องการน้ำแล้ว และร่างกายเรามักจะตอบสนองส่งข้อมูลนี้มาช้ากว่าที่ร่างกายต้องการจริงๆอยู่สักพักหนึ่ง แปลว่าหากท่านรู้สึกกระหายน้ำเมื่อไหร่ก็เท่ากับร่างกายของท่านได้ขาดน้ำไปแล้วสักพักก่อนหน้านั้น ยิ่งท่านปั่นหนักมากๆ ร่างกายอาจเสียน้ำไปแล้ว 1-2% ของน้ำหนักตัวก่อนที่จะรู้สึกกระหายน้ำเสียอีก
แต่การดื่มน้ำมากเกินไปอาจก่อให้เกิดสภาวะมีของเหลวมากเกินไปส่งผลกับสมดุลย์ของแร่ธาติในร่างกายขณะออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลถึงชีวิตได้เช่นกัน แม้ว่าอาการนี้จะพบได้ยากมากในการปั่นจักรยานในประเทศเขตุร้อนอย่างบ้านเรา พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำครั้งละมากๆในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเมื่อท่านเหนื่อยมากๆ กระหายมากๆ แล้วยกน้ำขวดลิตรอัดเข้าไปทีเดียวหมดขวด นอกจากจะจุกยังเป็นการเสี่ยงต่ออาการนี้ พอจะสรุปได้ง่ายๆว่า หากดื่มน้ำ 700-1000 มิลลิลิตรได้ทีละนิดๆในเวลา 1 ชม. ก็ถือว่าปลอดภัยอย่างแน่นอน
ลองหารน้ำ 700 มล. ด้วยปริมาณน้ำต่ออึกที่ดื่มก็จะพบว่า ทุกๆ 10 นาทีให้ดื่มน้ำหนึ่งอึกใหญ่ๆ หรือดื่มอึกเล็กๆ(จิบ)ทุกๆ 5-7 นาที เมื่อครบ 1 ชม. ก็จะได้น้ำครบปริมาณที่ต้องการได้อย่างไม่ยาก
-แต่งตัวให้เหมาะ
จริงๆแล้วการแก้ผ้าจนหมดทำให้ร่างกายเผิดเผยและแลกเปลี่ยนอุณหภูมิได้ดีที่สุด ระบายเหงื่อได้จากทุกอณูของผิวหนัง แต่นอกจากเหตุผลความอุจาดตาของเพื่อนนักปั่นยังมีปัญหาเรื่องการโดนแดดเผา เพราะอากาศที่ร้อนมากๆก็มาพร้อมกับแสงแดดแรงกล้าด้วย พยายามเลือกชุดปั่นจักรยานที่ปกปิดร่างกาย ป้องกันแสงแดดได้ดี แต่ระบายอากาศได้เยี่ยมด้วย เช่นเสื้อปั่นจักรานที่มีเนื้อผ้าบาง เบา ลมผ่านเข้าได้่ง่าย หรือแม้แต่เสื้อซับด้านในที่ออกแบบมาสำหรับอากาศร้อนก็จะช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้เร็วขึ้นแม้ว่าจะใส่เสื้ออยู่ถึง 2 ฃั้น โดยเฉพาะเมื่อขี่ช้าลง หรือปั่นขึ้นเขาที่กระแสลมผ่านจะผ่านไปช้าๆเบาๆ ส่งผลให้เหงื่อระเหยออกไปช้าลง ควรเลือกเสื้อจักรยานที่สามารถรูดซิปลงมาได้กว้าง เพิ่มพื้นผิวสัมผัสอากาศมากขึ้น สำหรับนักปั่นหญิงแนะนำให้เลือกเสื้อชั้นในแบบกีฬาที่มีลักษณะคล้ายเสื้อสายเดี่ยวปิดมิดชิด แทนที่จะเป็นชั้นในลูกไม้สวยดันทรงอกบึ้ม เพราะเมื่ออากาศร้อนมากๆสามารถรูดซิปลงมาได้โดยที่ไม่ไปรบกวนสมาธิของนักปั่นชายที่อยู่ใกล้ๆ
ความฟิตของเสื้อปั่นจักรยานก็ส่งผลกับการระบายอากาศเช่นกัน เสื้อปั่นที่แนบเนื้อพอดีตัว จะช่วยให้เหงื่อถูกซึมซับมาอยู่บนเนื้อผ้าและถูกระบายออกไปได้เร็วกว่าเสื้อปั่นหลวมๆที่ระหว่างผิวหนังกับเนื้อผ้าจะมีช่องว่างอับลม และช่องว่างนั้นจะกลายเป็นชั้นฉนวนเก็บความร้อนแทน ทว่าเนื้อผ้าก็มีส่วนสำคัญกับทั้งเสื้อแนบเนื้อหรือแบบหลวมสบายเช่นกัน ผ้าบางชนิดแม้จะพอดีตัวแต่ด้วยคุณลักษณะที่ระบายความชื้นได้ช้า ก็ขะกลายเป็นตัวเก็บความร้อนเอาไว้แทนที่จะช่วยระบายออกไป
-ราดน้ำ
นึกถึงรถยนต์ที่เครื่องย้นต์ต้องระบายความร้อนด้วยระบบของเหลวช่วยนอกเหนือจากอากาศที่ไหลผ่าน ร่างกายของเราก็เช่นกัน โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคมที่อากาศอาจร้อนได้ถึง 42 องศา แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ร่างกายจะระบายความร้อนได้ทันเพียงด้วยเหงื่อและลมที่ผ่านตัวไป น้ำจากกระบอกน้ำหรือขวดน้ำที่ราดอยู่บนตัวจนชุ่มช่วยลดอุณหภูมิแทนเหงื่อและลดอัตราการเสียน้ำได้มาก อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการราดคือน้ำเย็นนิดหน่อย (25-30 องศา) อย่าใช้น้ำเย็นเจี๊ยบน้ำแข็งเกาะมาราดตัว เพราะอาจช็อคจากสภาพการเปลี่ยนอุณหภูมิฉับพลันได้อีกเช่นกัน ในการแข่งขันจักรยานอาชีพบางรายการที่ต้องแข่งในพื้นที่อากาศร้อนมากๆเช่น Vuelta A'Espana บนภูเขาสูงที่ร้อนอบอ้าว นักปั่นจะตัวเปียกตลอดเวลา เหมือนกับปั่นไปอาบน้ำไป เพื่อให้ร่างกายเย็นและทำงานได้ดีที่สุด
ลองคำนวนดูทั้งน้ำที่ต้องดื่ม และน้ำที่ต้องราดตัว แปลว่าในฤดูร้อนที่อากาศร้อนมากๆ นักปั่นทุกคนต้องการน้ำมากกว่า 1 ขวด การพยายาม"ฝืนทน"ปั่นโดยที่ใช้ความอึดเป็นปัจจัยไม่ใช่การออกกำลังกายที่ดี แต่เป็นการทรมานร่างกาย จากที่หวังจะได้สุขภาพอาจส่งผลในทางตรงกันข้ามแทน ดังนั้นอย่าลังเลที่จะติดกระบอกน้ำ 2 กระบอก และเลือกใช้กระบอกขนาดใหญ่สำหรับวันที่ต้องเดินทางระยะไกลๆภายใต้อากาศร้อน หรือวางแผนเส้นทางให้ผ่านร้านค้าที่สามารถเติมน้ำได้เป็นระยะๆ บางครั้งการ"มีเหลือดีกว่าขาด" ก็เป็นการวางแผนที่ดี ลองเสียบขวดน้ำสำรองเอาไว้ในกระเป๋าหลังก็ช่วยได้ไม่ยาก
-เกลือแร่
เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อร่างกายชาดเกลือแร่และแร่ธาติที่สมดุลย์ การทำงานของระบบพลังงานก็จะทำได้ไม่เต็มที่จนถึงขั้นล้มเหลว และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดตะคริว ดังนั้นเลือกเรื่องดื่มเกลือแร่ที่ชดเชยการเสียเหงื่อจากการเล่นกีฬา โดยจิบทีละนิด ในปริมาณเจือจาง ช่วยชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายเสียออกไปได้มาก ซึ่งในเหงื่อของเราประกอบด้วยแร่ธาติต่างๆมากมาย การค่อยๆจิบเกลือแร่ไปเรื่อยๆควบคู่กับน้ำดื่ม ได้ผลดีกว่าการดื่มรวดเดียวหนึ่งขวดหลังการปั่นจักรยานมากๆ อย่างไรก็ดี พบว่าหากการปั่นจักรยานไม่ยาวกว่า 1 ชม. ร่างกายจะไม่เสียแร่ธาติมากจนต้องเติมกลับเข้าไปด้วยเครื่องดื่ม แต่สามารถใช้อาหาร ผัก ผลไม้ แทนได้ แม้จะย่อยช้ากว่าแต่ดีต่อสุขภาพมากกว่า หากการปั่นยาวนานต่อเนื่องกว่า 1 ชม. อาจชดเชยเกลือแร่ยี่ห้อยอดนิยมโดยทั่วไปครึ่งขวดต่อระยะเวลา 1 ชม. ...มาถึงจุดนี้ก็จะพบว่านอกจากน้ำดื่ม น้ำราดตัว ยังต้องเตรียมเกลือแร่ติดรถไปอีก นักแข่งจึงนิยมที่จะพกน้ำสองกระบอก กระบอกหนึ่งเป็นเกลือแร่ผสมพลังงาน อีกกระบอกเป็นน้ำดื่มธรรมดา และคอยเติมน้ำดื่มเรื่อยๆ เพราะสามารถหาน้ำดื่มได้งา่ยกว่า สำหรับนักปั่นที่ไม่ได้เน้นการแข่งขัน ทางออกที่ดีที่สุดคือการวางแผนเส้นทางและจุดพักให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการปั่น สามารถหยุดเติมเสบียงได้เรื่อยๆ
วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558
5 ข้อควรรู้นักปั่นสาว
จักรยานไม่ใช่กีฬาที่ยากเย็นจนเกินไป และไม่มีอุปสรรคไหนที่สาวๆนักปั่นจะหลีกเลี่ยงกีฬาชนิดนี้ แถมยังส่งผลดีอีกหลายๆด้านที่เป็นเสน่ห์น่าหลงใหลสำหรับสาวๆนักปั่น ทุกวันนี้มีสาวๆ ทั้งสาวน้อย สาวใหญ่ หันมาปั่นจักรยานเป็นกีฬาและออกกำลังกายกันมากมาย Velopedia ขอเอาใจสาวๆบ้าง นำเสนอ 5 ข้อควรรู้สำหรับนักปั่นสาวๆกันบ้าง
1.กางเกงจักรยานดีๆ ไม่มีชั้นใน
อย่าตกใจกับข้อเท็จจริงข้อนี้.. กางเกงจักรยานมีเป้าบุรองรับเพื่อความสบายในการปั่นจักรยาน และเจ้าเป้านี้ออกแบบมาให้รองรับสัมผัสกับผิวหนังคนเราโดยตรง ไม่ได้ออกแบบมาให้อยู่กับกางเกงชั้นใน ดังนั้นหากได้กางเกงจักรยานดีๆมาสักตัวแล้ว ทุกครั้งที่ปั่นจักรยาน ลองบอกลากางเกงในไม่ว่าจะเป็นลายลูกไม้หรือจีสตริง หรือแม้กระทั่งกางเกงชั้นในแบบกีฬา เพราะกางเกงในตัวน้อยจะกลายเป็นสิ่งระคายเคืองการขยับร่างกายไปแทน ใน 1 นาทีขาของนักปั่นขยับสองข้างรวมๆกันเกือบ 200 ครั้ง นั่นแปลว่าไม่ว่าจะเป็นตะเข็นหรือขอบกางเกงชั้นในจะเบียดเสียด เสียสี กับผิวหนังอ่อนนุ่ม บอบบางเป็นพันๆครั้งกว่าจะปั่นครบ 1 ชม. แรกๆอาจรู้สึกตะขิดตะขวงใจที่ต้องรู้สึก"เบาหวิว" แต่ความสบายตัวจะเป็นสิ่งพิสูจน์เองนะ ว่ามันดีอย่างนี้ นี่เอง
อย่าลืมหาโอกาสเลือกกางเกงจักรยานสำหรับผู้หญิงดีๆสักตัว ขนาดและรายละเอียดของตัวบุที่เป้าจะไม่เหมือนกับของผู้ชาย รองรับกับส่วนซ่อนเร้นของผู้หญิงได้พอดีกว่า มีพื้นที่บุดที่ก้นกว้างรองรับกับขนาดของอุ้งเชิงกรานที่กว้างกว่าผู้ชาย ทว่าหายากและราคาสูงสักหน่อย ทางที่ดีมองหากางเกงจักรยานที่ใส่แล้ว"พอดี" กระชับกับสรีระทั้งภายนอกและภายในจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
2.หาเบาะสำหรับผู้หญิง
เบาะหรืออานจักรยานเป็นส่วนที่สัมผัสกับร่างกายตรงๆและส่งผลกับความสบายในการปั่นมากที่สุด เบาะที่ไม่พอดีอาจทำให้วันสบายๆบนสองล้อกลายเป็นนรกที่ไม่อยากแม้แต่จะเอาก้นลงไปแตะมันก็ได้ สรีระของผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชาย มีอุ้งเชิงกรานที่กว้างกว่า ซึ่งส่งผลให้ส่วนรองรับกว้างกว่าผู้ชาย การเลือกเบาะที่ดีที่สุดคือเบาะที่มี sit zone รองรับพอดีกับกระดูกเชิงกราน เบาะหลายๆยี่ห้อจะมีขนาดของเบาะให้เลือกความกว้างได้ ทางที่ดีควรมองหาเบาะที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับสรีระของสาวๆ แต่หากไม่สามารถหาได้ ลองมองหาเบาะที่มี sit zone กว้างๆ แต่ก็ต้องพิจารณาด้วยยว่าพอดีกับการขยับขาด้วยหรือไม่
หากคุณเป็นสาวๆหน้าใหม่ที่เพิ่งมาปั่นจักรยาน อย่าเพิ่งท้อเพียงเพราะว่าอาการเจ็บก้นแล้วปั่นไม่สนุก นักปั่นเกือบทุกคนต้องค้นมองหาเบาะคู่ก้นขนกว่าจะเจอใช้เวลากันพอสมควร เพราะก้นใครก็ก้นมัน ก้นเธออาจจะสบายสำหรับยี่ห้อนี้ แ่ใช่ว่าทุกคนจะสบายเหมือนกันหมด ค่อยๆมองหาเบาะที่เหมาะสมกับสาวๆแต่ละคน ราคาไม่ใช่ปัจจัยแต่อย่างใด
3.จักรยานสำหรับผู้หญิง
ร่างกายของผู้หญิงไม่ใช่ผู้ชายที่หดขนาดลงมา มีสัดส่วนความยาวที่แตกต่างกันระหว่างขา แขน และลำตัว ที่สำคัญ อุ้งเชิงกรานและสะโพกผายสวยงามของสาวๆทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายอยู่ต่ำกว่าผู้ชายที่มีจุดศูนย์ถ่วงอยู่เยื้องไปด้านบนของร่างกาย ดังนั้นหากสาวๆขึ้นไปขี่จักรยานที่ปรับมารองรับร่างกายของผู้ชาย แม้จะได้ระยะขนาดพอดีแต่ต้องเสี่ยงกับอาการบาดเจ็บที่ไหล่และต้คอ ลองมองหาจักรยานที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้หญิงดู หรือเลือกใช้บริการฟิตติ้งมืออาชีพที่ปรับให้ระยะต่างๆลงตัวกับผู้หญิงมากที่สุด
อย่าเซ็ทรถด้วยองศาและระยะเดียวกับผู้ชายเด็ดขาด เพราะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อผู้หญิงก็น้อยกว่าผู้ชายอยู่แล้ว หากเกิดอาการบาดเจ็บจากการเซ็ทขนาดและระยะที่ไม่เหมาะสม จะบาดเจ็บมากกว่าหนุ่มๆ และส่งผลเร็วกว่ามาก
4.รองเท้าและบันไดจักรยาน
สาวๆต่างมารองเท้าหลายคู่เป็นปกติสำหรับโอกาสต่างๆกัน ลองเพิ่มรองเท้าจักรยานดีๆอีกสักคู่ในคอเล็คชั่นรองเท้า หรือจะเลือกหลายๆคู่สำหรับสลับกันใส่ให้เข้าชุดกันก็ไม่เลวนัก รองเท้าจักรยานออกแบบมาให้มีพื้นรองเท้าที่แข็งและส่งกำลังได้ดีกว่ารองเท้าผ้าใบธรรมดา โดยเฉพาะรองเท้าวิ่งหรือรองเท้ากีฬาเอนกประสงค์ที่ออกแบบมาให้รองรับแรงกระแทก และพื้นรองเท้าที่รองรับแรงกระแทกนั้นเองที่ซึมซับเอาแรงถีบที่เราอุตส่าห์ใส่ลงไปที่บันไดหายไปกับความนุ่ม แถมด้วยอาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บที่สะโพกและข้อเท้าจากความไม่มั่นคงของพื้นที่ปั่นอีกด้วย ลองมองหารองเท้าเสือหมอบ หรือเสือภูเขาก็ได้ การปั่นจักรยานจะสนุกขึ้นอีกมาก
และอย่าลืมหาบันไดจักรยานดีๆสักคุ๋ ไม่ว่าจะเป็นแบบคลิปสายรัด(ตะกร้อ) หรือแบบคลิปเลส(บันไดคลีท) นอกจากเท้าจะขยับไปพร้อมๆกับบันไดได้ไม่ต้องกลัวบันไดตีขาจนเจ็บแล้ว ยังช่วยให้ออกแรงควงบันไดได้ดีขึ้น และกระชับกล้ามเนื้อขาให้ได้ท่อนขาเรียวงามกลมกลึงรอบด้าน แทนที่จะน่องโป่งเป็นสามล้อถีบอย่างเดียว
5.อย่าลืมหัดซ่อมแซมง่ายๆเอง
แม้ว่างานช่าง งานสกปรกดูช่างไม่เข้ากับสาวๆเอาเสียเลย แต่การปั่นจักรยาน นักปั่นไม่ว่าหนุ่มหรือสาว ควรเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตัวเองให้ได้ เช่นการถอด/ใส่ล้อ การปะยางในกรณียางรั่ว การแก้ปัญหาโซ่หลุด โซ่ตก ...แม้ว่ายิ้มหวานๆข้างทางจะเรียกเทพบุตรควบสองล้อมาจอดช่วยเหลือสาวๆได้ไม่ยาก แต่ไม่มีอะไรจะการันตีได้ว่าวันไหนที่ถนนว่างโล่ง สาวๆต้องยืนยิ้มจนเหงือกแห้งรอหนุ่มนักปั่นสักคนผ่านมาถึงครึ่งวันหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย ลองปรึกษาหนุ่มนักปั่นใกล้ตัว หรือร้านจักรยานที่สนิทสนมให้สอนการดูแลและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆเล็กๆน้อยๆเอง หมั่นลองทำบ่อยๆไม่กี่ครั้งก็จะชินกับงานช่างมือเลอะได้เอง
วิธีแก้ปัญหาเรื่องมือเลอะง่ายๆก็คือ พกกระดาษทิชชู่เปียกติดกระเป๋าจักรยานไปสักแพ็ค นอกจากเช็ดมือได้แลเ้ว ยังช่วยให้การแวะทำธุระส่วนตัวสะอาดได้อนามัยมากขึ้นด้วย ...อย่าหวังว่าจะหาของแบบนี้ได้จากหนุ่มๆนักปั่นเลย พวกนั้นเช็ดกางเกงกับป้ายพื้นเอา
ขอให้สาวๆทุกคนปั่นจักรยานอย่างสนุกสนาน หุ่นสวย หุ่นดี มีสุขภาพ ได้พบเพื่อนๆและมิตรภาพอันสวยงามบนสองล้อ อย่าลืมชวนกันมาปั่นจักรยานมากๆ ลองมานัดกันปั่นจักรยานให้ได้เหงื่อสักนิด ก่อนจะไปช็ฮปปิ้งให้สบายใจ อย่างน้อยขนมที่กินเข้าไปเมื่อวานนี้ก็เผาผลาญไปได้ตอนที่เราปั่น
1.กางเกงจักรยานดีๆ ไม่มีชั้นใน
อย่าตกใจกับข้อเท็จจริงข้อนี้.. กางเกงจักรยานมีเป้าบุรองรับเพื่อความสบายในการปั่นจักรยาน และเจ้าเป้านี้ออกแบบมาให้รองรับสัมผัสกับผิวหนังคนเราโดยตรง ไม่ได้ออกแบบมาให้อยู่กับกางเกงชั้นใน ดังนั้นหากได้กางเกงจักรยานดีๆมาสักตัวแล้ว ทุกครั้งที่ปั่นจักรยาน ลองบอกลากางเกงในไม่ว่าจะเป็นลายลูกไม้หรือจีสตริง หรือแม้กระทั่งกางเกงชั้นในแบบกีฬา เพราะกางเกงในตัวน้อยจะกลายเป็นสิ่งระคายเคืองการขยับร่างกายไปแทน ใน 1 นาทีขาของนักปั่นขยับสองข้างรวมๆกันเกือบ 200 ครั้ง นั่นแปลว่าไม่ว่าจะเป็นตะเข็นหรือขอบกางเกงชั้นในจะเบียดเสียด เสียสี กับผิวหนังอ่อนนุ่ม บอบบางเป็นพันๆครั้งกว่าจะปั่นครบ 1 ชม. แรกๆอาจรู้สึกตะขิดตะขวงใจที่ต้องรู้สึก"เบาหวิว" แต่ความสบายตัวจะเป็นสิ่งพิสูจน์เองนะ ว่ามันดีอย่างนี้ นี่เอง
อย่าลืมหาโอกาสเลือกกางเกงจักรยานสำหรับผู้หญิงดีๆสักตัว ขนาดและรายละเอียดของตัวบุที่เป้าจะไม่เหมือนกับของผู้ชาย รองรับกับส่วนซ่อนเร้นของผู้หญิงได้พอดีกว่า มีพื้นที่บุดที่ก้นกว้างรองรับกับขนาดของอุ้งเชิงกรานที่กว้างกว่าผู้ชาย ทว่าหายากและราคาสูงสักหน่อย ทางที่ดีมองหากางเกงจักรยานที่ใส่แล้ว"พอดี" กระชับกับสรีระทั้งภายนอกและภายในจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
2.หาเบาะสำหรับผู้หญิง
เบาะหรืออานจักรยานเป็นส่วนที่สัมผัสกับร่างกายตรงๆและส่งผลกับความสบายในการปั่นมากที่สุด เบาะที่ไม่พอดีอาจทำให้วันสบายๆบนสองล้อกลายเป็นนรกที่ไม่อยากแม้แต่จะเอาก้นลงไปแตะมันก็ได้ สรีระของผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชาย มีอุ้งเชิงกรานที่กว้างกว่า ซึ่งส่งผลให้ส่วนรองรับกว้างกว่าผู้ชาย การเลือกเบาะที่ดีที่สุดคือเบาะที่มี sit zone รองรับพอดีกับกระดูกเชิงกราน เบาะหลายๆยี่ห้อจะมีขนาดของเบาะให้เลือกความกว้างได้ ทางที่ดีควรมองหาเบาะที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับสรีระของสาวๆ แต่หากไม่สามารถหาได้ ลองมองหาเบาะที่มี sit zone กว้างๆ แต่ก็ต้องพิจารณาด้วยยว่าพอดีกับการขยับขาด้วยหรือไม่
หากคุณเป็นสาวๆหน้าใหม่ที่เพิ่งมาปั่นจักรยาน อย่าเพิ่งท้อเพียงเพราะว่าอาการเจ็บก้นแล้วปั่นไม่สนุก นักปั่นเกือบทุกคนต้องค้นมองหาเบาะคู่ก้นขนกว่าจะเจอใช้เวลากันพอสมควร เพราะก้นใครก็ก้นมัน ก้นเธออาจจะสบายสำหรับยี่ห้อนี้ แ่ใช่ว่าทุกคนจะสบายเหมือนกันหมด ค่อยๆมองหาเบาะที่เหมาะสมกับสาวๆแต่ละคน ราคาไม่ใช่ปัจจัยแต่อย่างใด
3.จักรยานสำหรับผู้หญิง
ร่างกายของผู้หญิงไม่ใช่ผู้ชายที่หดขนาดลงมา มีสัดส่วนความยาวที่แตกต่างกันระหว่างขา แขน และลำตัว ที่สำคัญ อุ้งเชิงกรานและสะโพกผายสวยงามของสาวๆทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายอยู่ต่ำกว่าผู้ชายที่มีจุดศูนย์ถ่วงอยู่เยื้องไปด้านบนของร่างกาย ดังนั้นหากสาวๆขึ้นไปขี่จักรยานที่ปรับมารองรับร่างกายของผู้ชาย แม้จะได้ระยะขนาดพอดีแต่ต้องเสี่ยงกับอาการบาดเจ็บที่ไหล่และต้คอ ลองมองหาจักรยานที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้หญิงดู หรือเลือกใช้บริการฟิตติ้งมืออาชีพที่ปรับให้ระยะต่างๆลงตัวกับผู้หญิงมากที่สุด
อย่าเซ็ทรถด้วยองศาและระยะเดียวกับผู้ชายเด็ดขาด เพราะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อผู้หญิงก็น้อยกว่าผู้ชายอยู่แล้ว หากเกิดอาการบาดเจ็บจากการเซ็ทขนาดและระยะที่ไม่เหมาะสม จะบาดเจ็บมากกว่าหนุ่มๆ และส่งผลเร็วกว่ามาก
4.รองเท้าและบันไดจักรยาน
สาวๆต่างมารองเท้าหลายคู่เป็นปกติสำหรับโอกาสต่างๆกัน ลองเพิ่มรองเท้าจักรยานดีๆอีกสักคู่ในคอเล็คชั่นรองเท้า หรือจะเลือกหลายๆคู่สำหรับสลับกันใส่ให้เข้าชุดกันก็ไม่เลวนัก รองเท้าจักรยานออกแบบมาให้มีพื้นรองเท้าที่แข็งและส่งกำลังได้ดีกว่ารองเท้าผ้าใบธรรมดา โดยเฉพาะรองเท้าวิ่งหรือรองเท้ากีฬาเอนกประสงค์ที่ออกแบบมาให้รองรับแรงกระแทก และพื้นรองเท้าที่รองรับแรงกระแทกนั้นเองที่ซึมซับเอาแรงถีบที่เราอุตส่าห์ใส่ลงไปที่บันไดหายไปกับความนุ่ม แถมด้วยอาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บที่สะโพกและข้อเท้าจากความไม่มั่นคงของพื้นที่ปั่นอีกด้วย ลองมองหารองเท้าเสือหมอบ หรือเสือภูเขาก็ได้ การปั่นจักรยานจะสนุกขึ้นอีกมาก
และอย่าลืมหาบันไดจักรยานดีๆสักคุ๋ ไม่ว่าจะเป็นแบบคลิปสายรัด(ตะกร้อ) หรือแบบคลิปเลส(บันไดคลีท) นอกจากเท้าจะขยับไปพร้อมๆกับบันไดได้ไม่ต้องกลัวบันไดตีขาจนเจ็บแล้ว ยังช่วยให้ออกแรงควงบันไดได้ดีขึ้น และกระชับกล้ามเนื้อขาให้ได้ท่อนขาเรียวงามกลมกลึงรอบด้าน แทนที่จะน่องโป่งเป็นสามล้อถีบอย่างเดียว
5.อย่าลืมหัดซ่อมแซมง่ายๆเอง
แม้ว่างานช่าง งานสกปรกดูช่างไม่เข้ากับสาวๆเอาเสียเลย แต่การปั่นจักรยาน นักปั่นไม่ว่าหนุ่มหรือสาว ควรเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตัวเองให้ได้ เช่นการถอด/ใส่ล้อ การปะยางในกรณียางรั่ว การแก้ปัญหาโซ่หลุด โซ่ตก ...แม้ว่ายิ้มหวานๆข้างทางจะเรียกเทพบุตรควบสองล้อมาจอดช่วยเหลือสาวๆได้ไม่ยาก แต่ไม่มีอะไรจะการันตีได้ว่าวันไหนที่ถนนว่างโล่ง สาวๆต้องยืนยิ้มจนเหงือกแห้งรอหนุ่มนักปั่นสักคนผ่านมาถึงครึ่งวันหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย ลองปรึกษาหนุ่มนักปั่นใกล้ตัว หรือร้านจักรยานที่สนิทสนมให้สอนการดูแลและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆเล็กๆน้อยๆเอง หมั่นลองทำบ่อยๆไม่กี่ครั้งก็จะชินกับงานช่างมือเลอะได้เอง
วิธีแก้ปัญหาเรื่องมือเลอะง่ายๆก็คือ พกกระดาษทิชชู่เปียกติดกระเป๋าจักรยานไปสักแพ็ค นอกจากเช็ดมือได้แลเ้ว ยังช่วยให้การแวะทำธุระส่วนตัวสะอาดได้อนามัยมากขึ้นด้วย ...อย่าหวังว่าจะหาของแบบนี้ได้จากหนุ่มๆนักปั่นเลย พวกนั้นเช็ดกางเกงกับป้ายพื้นเอา
ขอให้สาวๆทุกคนปั่นจักรยานอย่างสนุกสนาน หุ่นสวย หุ่นดี มีสุขภาพ ได้พบเพื่อนๆและมิตรภาพอันสวยงามบนสองล้อ อย่าลืมชวนกันมาปั่นจักรยานมากๆ ลองมานัดกันปั่นจักรยานให้ได้เหงื่อสักนิด ก่อนจะไปช็ฮปปิ้งให้สบายใจ อย่างน้อยขนมที่กินเข้าไปเมื่อวานนี้ก็เผาผลาญไปได้ตอนที่เราปั่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)